ramahealthy

การดูเเลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

วินาทีสุดท้ายของชีวิตอย่างปราศจากความกลัวและกังวลอย่างมีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ที่สำคัญ เป็นการคืนสิทธิการเลือกตายโดยผู้ป่วยเอง ซึ่งรายละเอียด ในการทำความเข้าใจมีดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมาก จะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 1 ปี

การดูแลแบบประคับประคอง หมายถึง การดูแลทางการแพทย์การพยาบาลทุกชนิด รวมถึงการดูแลทางด้านจิตใจ สังคม ตามความต้องการของผู้ป่วย ตลอดจนการดูแล ครอบครัวผู้ป่วยจากความโศกเศร้า เนื่องจากต้องสูญเสียผู้ป่วยไปความสำคัญของการแจ้งอาการป่วย การบอกความจริงต่ออาการโรค นอกจากเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว ยังเป็น ประโยชน์ต่อญาติ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงวิธีการรักษาอาการต่างๆ รวมถึง การเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือร้าย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถ ตัดสินใจล่วงหน้าว่าเมื่อตนอาการหนักจนไม่รู้สึกตัวจะให้เยียวยารักษาอย่างไรแต่การที่ญาติปิดบังเพราะกลัวผู้ป่วยจะรับไม่ได้ แท้ที่จริงแล้วการไม่บอกความ

จริงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและส่งผลต่อการดูแล เพราะในที่สุดผู้ป่วยก็สามารถ คาดเดาสภาพอาการป่วยได้จากการทำตัวผิดแผกไปของญาติ เช่น พูดซุบซิบกันเองเบาๆ หรือเอาอกเอาใจผู้ป่วยมากขึ้นจนผิดปกติ หรืออาการต่างๆ ที่ทรุดลงเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้ล้วน ทำให้ผู้ป่วยเป็นกังวลและพยายามค้นหาความจริง ดังนั้นการยิ่งปิดก็ยิ่งทำให้อยากรู้

บอกสภาพความเจ็บป่วยแก่ผู้ป่วย ซึ่งบ่อยครั้งญาติที่ใกล้ชิดจะเป็นผู้ทำหน้าที่แจ้งข่าวร้าย การแจ้งข่าวร้ายมีเทคนิคที่สามารถนำไปปรับใช้ เช่น 

  • ญาติที่ทำหน้าที่นี้ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือเป็นผู้ที่ ผู้ป่วยรักและเชื่อใจพอสมควร
  • เลือกสถานที่และบรรยากาศที่เหมาะสมในการพูดคุย มีความเป็นส่วนตัว ไม่มีเสียงรบกวนจากโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย มีน้ำเสียงที่นุ่มนวล ท่าทางที่จริงใจ เป็นมิตร 
  • บอกความจริงและให้ความหวังอย่างซื่อตรง เมื่อเล่าผลการวินิจฉัยของ

ระหว่างที่บอกต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ ไม่ควรรีบเร่ง และผละ จากไปในทันที เพราะผู้ป่วยอาจมีคำถามหรือต้องการการปลอบโยน หรือ กระทั่งอาจต้องเตรียมพร้อมเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากผู้ป่วยเป็น ลมหรือเกิดอาการช็อก ทั้งนี้ ผู้ป่วยและญาติควรมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับทีมผู้ดูแล1 อย่างสม่ำเสมอ ทั้งเรื่องอาการของโรค วิธีการรักษา ผลที่จะเกิด เพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาซึ่งจะช่วย สร้างความคาดหวังที่ตรงกันและลดความขัดแย้งระหว่างทีมผู้ดูแลกับผู้ป่วยและญาติด้วย

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง คือความเห็นของญาติอาจไม่ตรงกัน ฝ่ายหนึ่งอาจให้ดูแลเต็มที่ แต่อีกฝ่ายไม่ต้องการให้ ยื้อชีวิต เหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะสร้างความลำบากใจแก่ทุกฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ป่วยที่มาถึงเครื่องมือกู้ชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ เครื่องปั๊มหัวใจ การ ต่อสายให้อาหาร ฯลฯ มีผลให้จากไปอย่างไม่สงบ และยังเกิดค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ สร้างความทุกข์ใจทั้งแก่ผู้ป่วย ญาติ และทีมผู้ดูแล การทำความตกลงเรื่องแผนการดูแลล่วงหน้า จึงเป็นกระบวนการของการ ปรึกษาหารือระหว่าง ผู้ป่วย ญาติ และทีมผู้ดูแล โดยมีเป้าหมายให้การดูแลที่จะเกิดขึ้นวิธีการที่จะดูแลผู้ป่วยทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ระบบการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านของทีมดูแล การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความ สะดวกต่อการดูแลผู้ป่วย ใครจะเป็นผู้ดูแล การดูแลค่าใช้จ่าย เพราะบาง ครอบครัวอาจมีปัญหาเนื่องจากฐานะยากจน หรือผู้ป่วยเป็นคนหารายได้หลัก ดังนั้นอาจต้องปรึกษานักสังคมสงเคราะห์เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้ป่วย ต้องการเยียวยาทางจิตวิญญาณอย่างไร เช่น การสวดมนต์ ทำบุญ ให้ทาน การเทศนาของนักบวช ถ้าผู้ป่วยมีการวางแผนการรักษาล่วงหน้า ควรดำเนินการตั้งแต่ตอนที่มี สติสัมปชัญญะดี อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการดูแลผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการดูแล ได้ตามความต้องการ สำหรับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า สามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ 

การมอบหมายให้บุคคลใกล้ชิดมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการดูแลทางการ แพทย์ในวาระสุดท้ายของผู้ป่วย ความปรารถนาครั้งสุดท้าย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง คือ การช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำสิ่งที่ต้องการหรือค้างคาใจ รวมถึงความใฝ่ฝันในชีวิตให้สำเร็จ ความปรารถนาหรือความใฝ่ฝันที่ค้างคาใจเหล่านี้จะมีผลให้เกิดความกระวนกระวายใจ เมื่อมากเข้าอาจทำให้ผู้ป่วยจมอยู่ในความทุกข์และไม่สงบ แม้บางครั้งผู้ป่วยจะไม่ได้บอก มาตรงๆ เพราะอายหรือไม่กล้าเปิดเผย ดังนั้นญาติจึงต้องเอาใจใส่ สังเกตว่าผู้ป่วยเคยพูด ถึงเรื่องใดบ่อยๆ แล้วค่อยๆ สอบถามเพิ่มเติม และหาหนทางช่วยให้สำเร็จ ในสหรัฐอเมริกา มีการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งชอบสามารถแสดงความประสงค์ตามความปรารถนา ดังนี้ ความปรารถนาที่ 1 ปรารถนาเลือกบุคคลที่จะมาตัดสินแทนได้ในกรณีที่ผู้ป่วย ไม่สามารถตัดสินใจได้ ความปรารถนาที่ 2 ปรารถนาวิธีการดูแลตามที่ผู้ป่วยต้องการ และปฏิเสธการ ดูแลที่ผู้ป่วยไม่ต้องการ ความปรารถนาที่ 3 ปรารถนาที่จะใช้วิธีการดูแลที่จะก่อให้เกิดความสบายกาย สบายใจ ตามที่ผู้ป่วยต้องการ ความปรารถนาที่ 4 ปรารถนาที่จะ เลือกผู้มาปฏิบัติดูแล หรือการ กลับไปดูแลที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้ป่วยจำนวนมากมีความต้องการที่จะกลับไปใช้ชีวิต ในช่วงสุดท้ายที่บ้าน กรณีนี้ญาติมักจะไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่มั่นใจว่าตนเองจะ สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้ดีเท่าที่โรงพยาบาล อีกทั้งหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน จะไม่สามารถควบคุมได้ทันเพราะห่างไกลแพทย์ กรณีดังกล่าวญาติอาจคลายความกังวลได้ เพราะปัจจุบันบางโรงพยาบาล มีหน่วยอาสาสมัครเยี่ยมผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ สหวิชาชีพ ฯลฯ ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเป็นระยะๆ หรือตามเวลาที่ขอให้ไป เพื่อตรวจ รักษาอาการและให้คำปรึกษาต่างๆ และหากผู้ป่วยมีอาการทรุดหนักทางโรงพยาบาล ยินดีให้ผู้ป่วยกลับเข้ารักษาอีกครั้ง ดังนั้นหากผู้ป่วยมีความต้องการกลับไปอยู่บ้าน ญาติจึงไม่ควรกังวล แต่ควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ทำตามความต้องการ

ห้องนอน ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะวางเตียงนอน เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับ ใช้ในการพยาบาล หากผู้ป่วยต้องใช้รถเข็นก็ควรจัดให้สามารถนำรถเข็นมารับจากเตียง นอนได้ และควรมีปลั๊กไฟสำหรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นบางชนิด ทั้งนี้ถ้าหากบ้านไม่มีพื้นที่มากพอ ให้จัดพื้นที่เป็นสัดส่วนที่พอเหมาะสำหรับวางเตียงหรือ ที่นอน มีพื้นที่จัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้บ่อยๆ ไว้ใกล้ๆ เพื่อความสะดวกในการหยิบจับ ญาติและผู้ดูแลสามารถนำวิธีต่างๆ ไปปรับใช้ในช่วงที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน ของผู้ป่วยควรมีการเตรียมและดำเนินการ ดังนี้

  • ผู้ป่วยและญาติควรปรึกษาแพทย์ 
  • ขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน รวมทั้งฝึกทักษะในการดูแลในเรื่อง ต่างๆ เช่น การให้อาหาร การให้ยา การบรรเทาอาการปวด หรือการดูแลอาการต่างๆ ฯลฯ 
  • ควรขอใบรับรองแพทย์บ่งชี้ถึงโรคเรื้อรัง ที่เป็นจากโรงพยาบาล 
  • ควรขอชื่อ เบอร์โทรศัพท์ผู้ที่ จะให้คำปรึกษาในการ รักษาตัวที่บ้าน และ การติดต่อกรณีฉุกเฉิน การเตรียมสภาพแวดล้อมในบ้าน ก่อนที่ผู้ป่วยจะกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ควรจัดสภาพที่พักและสภาพแวดล้อมให้ นอนได้ และควรมีปลั๊กไฟสำหรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นบางชนิด ้องน้ำ/ห้องสุขา ต้องมีการดูแลให้ สะอาดอยู่เสมอ ป้องกันการลื่นหกล้ม ถ้า ผู้ป่วยไม่สามารถยืนได้ต้องมีเก้าอี้สำหรับนั่ง อาบน้ำและมีราวเกาะ หากไม่มีส้วมชนิดนั่ง ควรใช้เก้าอี้เจาะรูตรงกลาง เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถนั่งถ่ายเองได้ ทางเดินภายในบ้าน ควรมีแสงสว่างพอ ปรับให้มีระดับลาดชันที่ผู้ป่วยสามารถ เดินได้ หรือรถเข็นสามารถผ่านได้สะดวก หากจำเป็นอาจมีราวติดผนังบ้านเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถจับเดินได้ ประตู ควรมีขนาดกว้างพอสมควร และมีการปรับระดับพื้นให้รถเข็นสามารถ ผ่านเข้าออกได้ ห้องครัว จัดให้สะอาด เป็นระเบียบ ไม่อยู่ใกล้ห้องนอนของผู้ป่วยมาก จนส่งกลิ่น และเสียงรบกวน แสงสว่างภายในบ้าน มีอย่างพอเพียง เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเพื่อ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หากชำรุดต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

การระบายอากาศ ในห้องหรือในบ้าน ควรมีการระบายอากาศที่ดี ไม่มีกลิ่นอับชื้น การดูแลสุขภาพอนามัย การช่วยทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะขับถ่าย บริเวณอับชื้น รวมทั้งเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ให้สะอาดอยู่เสมอจะช่วยให้ผู้ป่วยสดชื่น สบายตัว การ แปรงฟันควรใช้แปรงสีฟันชนิดขนอ่อนทำความสะอาดภายในปาก หรือใช้ที่กดลิ้น ด้าม ช้อน ก้านตะเกียบไม้พันด้วยผ้าก๊อซที่เปียกชื้นทำความสะอาดช่องปาก ควรบ้วนปากด้วย น้ำเกลือทุกๆ 2-4 ชั่วโมง และหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้ง การดูแลดวงตาโดยใช้ ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดปิดทับตาทั้งสองข้าง หรือหยอดน้ำเกลือที่ดวงตาทุกชั่วโมงเพื่อ ป้องกันแก้วตาแห้ง

ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เอง มีโอกาสที่ผิวหนังจะถูกทำลายจาก แรงกดทับ แรงดึง และแรงเสียดสี ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้น ถ้าหากไม่มีการดูแลที่ดี อาจทำให้แผลที่ถลอกกลายเป็นแผลเนื้อตาย จนทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ดังนั้นควร ดูแลผู้ป่วยโดยการเปลี่ยนท่า เพื่อช่วยไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายรับน้ำหนักหรือ แรงกดนานเกินไป กรณีที่ผู้ป่วยบางรายมีข้อจำกัดท่านอนได้บางท่า ให้ใช้อุปกรณ์ลด แรงกด เช่น ที่นอนลม ที่นอนที่ทำจากเส้นใย เจล โฟม ลม ขนแกะ หากไม่สามารถหาได้ สามารถปรับใช้ผ้าห่มหรือหมอนที่นุ่มๆ หรือที่นอนปิคนิคแทนก็ได้ แต่ต้องปูที่นอนให้ สะอาด แห้ง ตึง เพราะรอยผ้าปูที่เป็นสันสามารถทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังได้ ญาติควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย แต่กรณีที่ผู้ป่วย ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ญาติควรช่วยทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยและควรดูแล อาหารที่ให้พลังงานสูงที่มีวิตามินและโปรตีนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และ ดูแลให้ได้ดื่มน้ำเพียงพอการดูแลสามารถทำได้โดยการเปิดพัดลมเป่าเบาๆ ให้เย็น และจัดสภาพห้องให้มี การระบายอากาศที่ดี การจัดปรับท่าของผู้ป่วย เช่น การจัดท่านอนศีรษะสูง นอนตะแคง และเปลี่ยนท่าผู้ป่วยบ่อยๆ ดูแลทำความสะอาดช่องปาก เนื่องจากอาการเหนื่อยหอบ ทำให้ปากแห้งและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย การดูแลแบบผสมผสาน เช่น การทำสมาธิ โดย การฝึกหายใจ การใช้จินตนาการบำบัดให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายร่วมกับการให้ออกซิเจน การให้ยาลดอาการหายใจลำบาก ยาลดสารคัดหลั่งตามคำแนะนำของแพทย์จะทำให้ ผู้ป่วยสงบ ลดอาการกระวนกระวายลงได้

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ