ramahealthy

การตรวจร่างกายโดยเเพทย์

การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกาย หรือ การตรวจร่างกายโดยแพทย์ (ภาษาอังกฤษ : Physical examination : PE, Medical examination หรือ Clinical examination) คือ ขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค วินิจฉัยแยกโรค ประเมินวิธีการรักษา ติดตามผลการรักษา และประเมินสุจภาพโดยรวมของผู้ป่วย ทั้งนี้ การตรวจร่างกายมักจะดำเนินการหลังจากที่แพทย์ได้สอบถามประวัติอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยแล้ว การตรวจร่างกายเป็นการตรวจที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และไม่มีผลข้างเคียง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพราะแพทย์สามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยได้เลยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก และสามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ และตรวจได้ทั้งผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยฉุกเฉิน เป้าหมายของการตรวจร่างกาย ตรวจในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการผิดปกติเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค วินิจฉัยแยกโรค ประเมิลผลการรักษา ติดตามผลการรักษา และประเมินสุขภาพของผู้ป่วย ตรวจเพื่อเริ่มการบันทึกประวัติสุขภาพเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทราบจุดอ่อนหรือทราบสภาวะของโรคที่แฝงตัวอยู่ตั้งแต่เนิ่น ๆ และป้องกันมิให้ต้องถึงขั้นเจ็บป่วยจนต้องหยุดงาน ตรวจตามห้วงระยะเวลา เช่น ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ประโยชน์ของการตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายเป็นการตรวจพื้นฐานที่มีประโยชน์มากและมักทำควบคู่ไปกับการสอบถามอาการของผู้ป่วย ซึ่งผลที่ได้จากการตรวจร่างกาย แพทย์จะบันทึกไว้ในเวชระเบียนเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยในการช่วยวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค (เช่น ถ้ามีไข้ มีอาการไอ แต่การตรวจฟังปอดไม่พบความผิดปกติ ก็สามารถช่วยให้แพทย์แยกโรคได้ในระดับหนึ่งว่าจะเป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ยังไม่มีการติดเชื้อในปอด) ช่วยประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสม ช่วยติดตามผลการรักษา และประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเพื่อให้การดูแลรักษาเป็นไปอย่างเหมาะสม แพทย์สามารถใช้เป็นแนวทางช่วยในการส่งตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยันให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น เช่น ถ้าแพทย์ตรวจจากหูฟังและพบว่ามีเสียงผิดปกติในปอด แพทย์จะส่งตรวจเอกซเรย์ปอดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีรอยโรคหรือพยาธิสภาพอะไรเกิดขึ้นในปอดบ้าง ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การตรวจร่างกายเป็นการตรวจที่มีค่าใช้จ่ายต่ำมาก ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากและมีราคาสูง แพทย์ทุกคนสามารถทำได้ โทษของการตรวจร่างกาย ปกติแล้วการตรวจร่างกายเป็นการตรวจที่ไม่มีโทษหรือผลข้างเคียง ไม่จัดเป็นหัตถการ ไม่มีข้อห้ามในการตรวจ และสามารถให้การตรวจได้ในทุกสถานที่ โดยการตรวจอาจมีแค่อุปกรณ์ช่วยตรวจพื้นฐาน เช่น เครื่องวัดความดัน ปรอทวัดไข้ หูฟัง และค้อนยาง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่เป็นการตรวจด้วยการใช้มือสัมผัส เช่น การตรวจคลำช่องท้อง การตรวจทางทวารหนัก หรือการตรวจภายใน อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บได้บ้างเล็กน้อย และอาการจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษาภายใน 2-3 ไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพหรือเมื่อมีอาการผิดปกติใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางกายภาพ (เช่น มีอาการเคืองตา คลำพบปุ่มน้ำเหลือง บริเวณช่องท้องมีอาการบวม นิ้วล็อก ใช้มือกำสิ่งของไม่มีแรง) หรือความผิดปกติทางสมอง (เช่น มีอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น แขนขาข้างใดข้างหนึ่งมีเรี่ยวแรงน้อยผิดปกติ มีอาการสั่นที่มือโดยมิได้ตั้งใจ มีอาการนอนไม่หลับ ยืนตัวตรงแต่ร่างกายกลับเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง) เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ขั้นตอนแรกจะเป็นการทำประวัติที่แผนกทำประวัติ และรอพบแพทย์ที่หน้าห้องตรวจ (ถ้ามีระเบียบว่าต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนในห้องที่จัดเตรียมเอาไว้ และมักแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย) ที่บริเวณหน้าห้องตรวจ เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลอาจสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วยในเบื้องต้นก่อนเพื่อจัดคิวตรวจที่เหมาะสม และจะทำการตรวจร่างกายขั้นต้นใน 2 เรื่อง (เมื่อตรวจเสร็จก็รอพบแพทย์ตามคิว) คือ วัดขนาดชีวภาพพื้นฐาน (Basic Biometrics) โดยจะเป็นการวัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักตัวเพื่อคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งหากได้ค่า BMI เกินกว่า 25. 0 ก็จะถือว่า มีสภาวะโรคอ้วน ตรวจวัดสัญญาณชีพ (Vital Signs) ซึ่งมักจะประกอบไปด้วย การวัดความดันโลหิต, การวัดอัตราชีพจร, การวัดอุณหภูมิร่างกาย (บางกรณี), การวัดอัตราการหายใจ (บางกรณี) เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะตรวจสอบประวัติเบื้องต้นจากเวชระเบียนรวมทั้งสัญญาณชีพ สอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์เพิ่มเติม โดยเรื่องที่มักจะเป็นหัวข้อสนทนาก็มักจะเป็นเรื่องของประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน, ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว, ประวัติการใช้ยาต่าง ๆ รวมทั้งประวัติการแแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้สิ่งต่าง ๆ, การตั้งครรภ์และการมีบุตรในผู้หญิง, การได้รับวัคซีน DPT, ลักษณะโภชนาการที่บริโภคประจำวัน, ลักษณะอาชีพหรือสถานที่อยู่อาศัยที่เสี่ยงต่อโรคภัย, ลักษณะเพื่อฝูงและการสังคมเที่ยวเตร่ และพฤติกรรมการเสพสิ่งเสพติดต่าง ๆ เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด สมุนไพรอย่างกรณีกินหมาก ดื่มชาแห้ม ฯลฯ ในขั้นตอนการซักถามประวัตินี้ แพทย์บางท่านอาจเชิญญาติออกไปนอกห้องตรวจ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือผู้รับการตรวจได้อยู่ตามลำพังเพียงสองต่อสองกับแพทย์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกใจ กล้าหรือไม่ละอายที่จะตอบข้อซักถามกับแพทย์ได้อย่างตรงไปตรงมาอันมีลักษณะเป็นความลับเฉพาะตัว เพื่อที่แพทย์จะได้ทราบข้อมูลต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา

หลังจากนั้นจะเป็นการตรวจร่างกาย ถ้าเป็นการตรวจทั้งตัว ผู้ช่วยแพทย์หรือพยาบาลจะช่วยจัดให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง แต่ในกรณีที่เป็นการตรวจเฉพาะส่วนบนของร่างกาย (เช่น หู คอ จมูก ตา หรือปอด) การตรวจจะทำในท่านั่งบนเก้าอี้ในห้องตรวจ ส่วนการตรวจจะเริ่มจุดใดก่อนนั้นจะขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน แพทย์บางท่านอาจเริ่มตรวจทั้งตัวก่อน โดยเริ่มจากศีรษะ ลำคอ ลงไปถึงเท้า แล้วตามด้วยการตรวจตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีอาการ (ถ้ามี) แต่แพทย์บางท่านก็อาจเริ่มตรวจในตำแหน่งที่มีอาการก่อนแล้วจึงตรวจส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การตรวจร่างกายของแพทย์มักจะอยู่ในกรอบการปฏิบัติใหญ่

การทำงานของอวัยวะระบบต่างๆ ของคนเปรียบเสมือนการทำงานของเครื่องจักร หรือรถยนต์ที่ต้องได้รับการตรวจสภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายหรือไม่ เพื่อทำการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ฉะนั้นในแต่ละปี ควรจะมีการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรคที่อาจไม่มีอาการแสดงออกในระยะแรก ถ้าตรวจพบความผิดปกติได้เร็วก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติ แพทย์ก็สามารถแยกโรคได้ในระดับหนึ่งว่า น่าเป็นการติดเชื้อเฉพาะระบบทางเดินหายใจตอนบน ยังไม่มีการติดเชื้อในปอด เป็นต้น นอก จากนั้น ยังใช้ช่วยประเมินวิธีรักษา ช่วยติดตามผลการรักษา และประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ ป่วยเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการตรวจร่างกาย แพทย์สามารถตรวจร่าง กายผู้ป่วยได้เลยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก และสามารถให้การตรวจได้กับ ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่ในบางครั้ง ในบางโรงพยาบาล กรณีเป็นผู้ป่วยทั่วไปที่เป็นผู้ป่วยโรคเฉพาะทางที่ไม่ ใช่ผู้ป่วยหนัก มักให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นเสื้อผ้าของโรงพยาบาลก่อน เพื่อความสะดวกในการตรวจร่างกายของแพทย์ ซึ่งบางครั้ง อาจให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเฉพาะส่วน เช่น จากกางเกงเป็นผ้าถุง (ของโรงพยาบาล) กรณีมีการตรวจภายใน หรือเปลี่ยนเฉพาะเสื้อ กรณีเป็นผู้ป่วยโรคปอดและ/หรือโรคหัวใจ เป็นต้น

เมื่อถึงโรงพยาบาล ทำประวัติที่แผนกทำประวัติ และรอพบแพทย์หน้าห้องตรวจ ถ้ามีระเบียบที่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า เจ้าหน้าที่จะให้ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนในห้องที่จัด เตรียมไว้ให้ และมักแนะนำให้ผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย บริเวณหน้าห้องตรวจ เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลอาจสอบถามประวัติอาการผู้ป่วยในเบื้องต้น เพื่อการจัดคิวตรวจที่เหมาะสม ชั่งน้ำหนัก บางโรงพยาบาล หรือในคลิ นิกโรคเฉพาะทาง อาจมีการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และมีการตรวจวัดสัญญาณชีพ (ชีพจร อุณหภูมิ อัตราการหายใจ และความดันโลหิต) หลังจากนั้นรอพบแพทย์ตามคิว เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะตรวจสอบประวัติเบื้องต้นจากเวชระเบียน ซึ่งรวมทั้งสัญ ญาณชีพ สอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์เพิ่มเติม หลังจากนั้น จะตรวจร่างกายผู้ป่วย ถ้าเป็นการตรวจทั้งตัว พยาบาล/ผู้ช่วยแพทย์จะช่วยจัดให้ผู้ป่วยนอนเตียง หรือกรณีเป็นการตรวจเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เช่น กรณีทั่วไปของผู้ป่วยทาง หู คอ จมูก ตา หรือปอด การตรวจโดยผู้ป่วยจะอยู่ในท่านั่งบนเก้าอี้ที่อยู่ในห้องตรวจ การตรวจจะเริ่มที่จุดไหนก่อน ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน บางท่านเริ่มตรวจทั้งตัวก่อน โดยเริ่มจากศีรษะ ลำคอลงไปถึงเท้า แล้วตามด้วยการตรวจตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีอาการ บางท่านเริ่มตรวจในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีอาการก่อน ต่อจากนั้นจึงตรวจส่วนอื่นๆของร่างกาย เมื่อตรวจร่างกายเสร็จ แพทย์จะบอกว่าตรวจเสร็จแล้ว พยาบาล/ผู้ช่วยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยลงมาจากเตียง หรือ กลับมานั่งเก้าอี้ที่ใช้นั่งพูดคุยกับแพทย์ แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วย แจ้งว่าน่าจะเป็นโรคอะไร จำเป็นต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม หรือสามารถรักษาสั่งยาได้เลย หรือไม่จำเป็นต้องสั่งยา บอกวันนัด (ถ้ามี) และให้ผู้ป่วยซักถามแพทย์ เมื่อผู้ป่วยเข้าใจดีแล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการตรวจ ต่อจากนั้น ผู้ป่วยจะออกจากห้องตรวจ พบพยาบาลเพื่อรับใบนัดพบแพทย์ครั้งต่อไป หรือใบตรวจเพิ่มเติมต่างๆ กรณีมีการนัดตรวจเพิ่มเติม (การสืบค้น) ผู้ป่วยต้องไปยังแผนกต่างๆที่ต้องมีการนัดตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ การตรวจเลือด เป็นต้น หลังจากนั้น จึงไปยังห้องยา และ/หรือห้องชำระเงิน เป็นอันครบกระบวนการตรวจร่างกาย ส่วนผลของการตรวจเพิ่มเติมต่างๆ แพทย์จะนัดผู้ป่วยอีกครั้งหลังได้รับผลการตรวจเพิ่มเติมนั้น อนึ่ง ระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะมีผู้ช่วยแพทย์/พยาบาล ที่มักเป็นหญิงร่วมอยู่ด้วยเสมอ เพื่อคอยช่วยเหลือแพทย์ และเป็นระเบียบปฏิบัติของแพทย์สภาที่แนะนำไม่ให้แพทย์อยู่ตามลำพังกับผู้ป่วย ระหว่างตรวจร่างกาย ผู้ป่วยควรผ่อนคลาย ไม่ต้องกลัวจนเกร็งไปหมด วางมือทั้งสองข้างในตำแหน่งที่แพทย์แนะนำ หายใจเข้าออกตามปกติ เพราะการผ่อนคลาย ไม่เกร็ง จะช่วยเพิ่มความถูกต้องของการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะในการคลำ ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์อาจมีการซักถามประวัติอาการ และ/หรือ ซัก ถามความรู้สึกผู้ป่วยขณะตรวจ เช่น เจ็บไหม? เจ็บมากไหม? เจ็บร้าวไปที่ใดบ้าง? เป็นต้น แพทย์บางท่านจะให้ญาติเข้าพบแพทย์พร้อมผู้ป่วย แต่ขณะตรวจ อาจมีม่านกั้นระ หว่างผู้ป่วยกับญาติ แต่แพทย์บางท่านจะพบผู้ป่วยและตรวจผู้ป่วยก่อน ต่อจากนั้นจึงพูดคุยอธิ บายกับญาติ ทั้งนี้ขึ้นกับแพทย์แต่ละท่าน ในการพบแพทย์ ผู้ป่วยควรต้องเตรียมคำถาม จดไว้ล่วงหน้า รวมทั้งชนิดยาที่รับ ประทานอยู่ และผลการตรวจจากโรงพยาบาลอื่นๆ (ถ้ามี) ทั้งนี้เพื่อพูดคุย สอบถามแพทย์ได้ รวดเร็ว ครบถ้วน ตามที่ผู้ป่วยกังวล สงสัย อยากรู้ ทราบผลการตรวจร่างกายเมื่อไหร่? ผลการตรวจร่างกาย ทราบได้ทันทีจากแพทย์ หลังแพทย์ตรวจร่างกายเสร็จแล้ว ซึ่งแพทย์มักจะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า ผลตรวจปกติ หรือ ผิดปกติ หรือต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม ซึ่งถ้าแพทย์ไม่บอก ผู้ป่วยสามารถสอบถามแพทย์ได้เสมอ สรุป การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจพื้นฐาน ที่แพทย์ให้การตรวจในผู้ป่วยทุกคน ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่าย ไม่ซับ ซ้อน ไม่มีผลข้างเคียง และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อแพทย์ใช้ช่วยใน การวินิจฉัยโรค ประเมินผลการรักษา และติดตามผลการรักษา

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ