การบำบัดจิตใจ
การบำบัดจิต หรือ การให้คำปรึกษาด้านจิตใจ คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ปรึกษาปัญหาต่างๆ และการทำงานร่วมกันระหว่างนักจิตอายุรเวท (นักจิตบำบัด) กับผู้ป่วย โดยข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ ซึ่งระยะเวลาการบำบัดก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การให้ความร่วมมือ และ การพัฒนาของผู้ป่วย ทำไมถึงต้องบำบัด? เพราะปัญหาทางด้านจิตใจหลายๆครั้ง ผู้ที่มีปัญหาก็ไม่ทราบว่าตัวเองเป็น ทำให้ไม่ได้รับการเยียวยาอย่างตรงจุดจนนำมาซึ่งปัญหาที่ร้ายแรง การบำบัดจิตเป็นวิธีการสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ต่อผู้อื่น ความคิด ทัศนคติในการมองโลก ปัญหาพฤติกรรม และ ความทุกข์ทรมานเรื้อรังของผู้ป่วยได้ โดยนักจิตอายุรเวทจะต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพในการบำบัดจิต ต้องใช้ความสามารถและวิธีการบำบัดที่ได้รับการยอมรับจากการวิจัยทั่วโลกว่าสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างเห็นผล
ตัวอย่างวิธีการบำบัด
การรักษาด้วยการยอมรับและความมุ่งมั่น (Acceptance and Commitment Therapy) การบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติ (Mindfulness Based Cognitive Therapy)การบำบัดแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Person-centered Therapy) การบำบัดตามแนวคิดทฤษฎีทางอารมณ์ (Emotional Focused Therapy) การบำบัดโดยการบรรยาย (Narrative Therapy) ส่วนใหญ่การทำจิตบำบัด จะไม่ได้ใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่จะใช้ร่วมกันหลายๆวิธีเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงและเหมาะสมกับอาการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ได้รับการรักษาและรับยาจากจิตแพทย์ หากได้เสริมด้วยการบำบัดจิตควบคู่กันไป จะส่งผลให้การรักษาเห็นผลเร็วขึ้น คนแต่ละคนมีความสามารถในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ไม่เท่ากัน คนที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตจึงควรได้รับการช่วยเหลือ ดูแลรักษาเช่นเดียวกับการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย อย่าอายที่จะเข้ารับคำปรึกษา คำแนะนำ และ ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีคุณค่า มีคุณภาพ และ บรรลุเป้าหมาย


ร้องไห้ออกมา หากคุณอยากร้องไห้ จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องสะกดกลั้นความรู้สึกเศร้า ซึ่งการร้องไห้จะเป็นวิธีการบำบัดจิตใจให้ดีขึ้นยอมรับความจริง ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งหากคิดตามหลักตรรกะแล้ว การจะทำให้ชีวิตเดินหน้าต่อไป คือ การพยายามโฟกัสที่การหาวิธีเดินหน้าต่อไปลดการเสพข่าวเศร้าเกี่ยวกับการสูญเสียนั้นให้มากที่สุด เพราะหากคุณยังเปิดหน้าเฟซบุ๊คหรือเสพสื่อที่เห็นแต่ข่าวการสูญเสีย และเรื่องราวเศร้าซ้ำๆ จะยิ่งทำให้ความรู้สึกของคุณดิ่งลงไปเรื่อยๆ หากปล่อยไว้นานเกินไป อาจจะทำให้คุณดึงตัวเองขึ้นมาได้ยากขึ้น (อ่านบทความ 4วิธีป้องกันใจไม่ให้ซึมเศร้าจากข่าวดราม่า ) หาทางระบายออกมาในทางสร้างสรรค์ เช่น การเขียนบันทึก การพูดแล้วบันทึกเสียงของตัวเองไว้ การวาดภาพระบายสี การเล่นดนตรี เล่นกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้นใช้ชีวิตด้านอื่นๆ บ้าง คุณไม่ควรรู้สึกผิดหากคุณจะทำงาน ออกไปเดินช้อปปิ้ง หาอาหารอร่อยๆ รับประทาน หรือฟังเพลงที่มีอารมณ์สนุกสนาน เพราะเป็นการป้องกันจิตใจตัวเองไม่ให้ดิ่งลงไปมากกว่านี้ (อ่านบทความ 10 เทคนิคจัดการความรู้สึกด้านลบให้อยู่หมัด) พูดคุยกับใครซักคน หรือกลุ่มคนที่คุณไว้ใจ ช่วยกันปลอบโยนซึ่งกันและกัน แต่ควรระวังการพูดคุยที่พากันดึงความรู้สึกของกันและกันดิ่งลงไปซ้ำอีกหากเริ่มสังเกตตัวเองว่ามีอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ ผวา เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง ขาดพลัง ไม่อยากลุกไปทำอะไร หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายขึ้น หยุดร้องไห้ไม่ได้ หรือร้องไห้ง่ายเวลาที่ถูกอะไรสะกิดหรือสะเทือนอารมณ์ หรือแม้กระทั่งเริ่มคิดถึงการตาย ให้รีบมองหาความช่วยเหลือ เช่น จิตแพทย์ นักจิตบำบัด กรมสุขภาพจิตการสูญเสียบุคคลหรือสิ่งของที่คุณรู้สึกผูกพันมานานนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะรู้สึกเศร้า เสียใจ แต่อย่าปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้อยู่นานเกินไปค่ะ เพราะชีวิตต้องเดินต่อไป คุณยังมีภารกิจ และคนที่อยู่ข้างหลังอีกมากมายที่ต้องการพลังใจและการดูแลจากคุณอยู่
จิตบำบัดเป็นการใช้เวลาในการพูดคุยหรือปรึกษาเรื่องต่าง ๆ กับจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ อย่างนักจิตวิทยา เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และจิตใจ ซึ่งการทำจิตบำบัดสามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธี เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เพื่อปรับรูปแบบความคิด ความเข้าใจ หรือทัศนคติที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติ การบำบัดโดยใช้การฝึกสติและการกำหนดลมหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ละจากความคิดในแง่ลบที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางจิตใจ หรือการบำบัดจิตพลวัต ซึ่งจะช่วยให้พบกับสาเหตุ ความทรงจำที่ถูกกดไว้ รวมถึงความขัดแย้งทางความคิดที่อยู่ลึกลงไปในระดับของจิตไร้สำนึก เป็นต้น ทั้งนี้ จิตแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรืออาจใช้มากกว่า 1 วิธีในการรักษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วยก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับอาการและเงื่อนไขของผู้รับการบำบัดแต่ละรายการทำจิตบำบัดเป็นอย่างไร ? การทำจิตบำบัดแต่ละครั้งมักใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที ในช่วงแรกจิตแพทย์จะพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย โดยให้เล่าหรือระบายเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก และปัญหาที่กำลังประสบอยู่ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีอารมณ์อ่อนไหว ร้องไห้ และมีอารมณ์ฉุนเฉียวเกิดขึ้นในขณะเล่า หรืออาจพบว่าตนเองรู้สึกอ่อนเพลียหลังจากทำจิตบำบัด โดยปกติแล้วจิตแพทย์จะเก็บเรื่องราวของผู้ป่วยเป็นความลับ แต่ในบางกรณี หากผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่ออันตราย หรือต้องรับการรักษาที่ต้องการการยินยอมจากผู้ปกครอง อาจมีการเปิดเผยเรื่องราวบางส่วนต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งการไปพบจิตแพทย์เพื่อทำจิตบำบัดอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่ดีขึ้น สามารถปรับวิธีการคิดและความรู้สึกที่มีต่อตนเอง และยังช่วยให้สามารถรับมือและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังการทำจิตบำบัด จิตแพทย์อาจนัดให้ผู้ป่วยมาพบอีกครั้งหลังจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อติดตามความคืบหน้าและผลการบำบัด ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดปัญหาหรือเข้าขั้นวิกฤตก่อนจึงจะมาบำบัด แต่หากรู้สึกว่าต้องการใครสักคนที่คอยรับฟังและเป็นที่พึ่งทางจิตใจก็สามารถนัดหมายและกลับมาพบจิตแพทย์ใหม่อีกครั้งได้ เมื่อจิตแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง หรือสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องนัดให้กลับมารักษาอีก
ทำไมถึงต้องทำจิตบำบัด ? การทำจิตบำบัดมีประโยชน์ในการรักษาโรคหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ รวมถึงโรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคการกินผิดปกติ การมีอารมณ์แปรปรวน การมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ การใช้สารเสพติด หรืออาการทางจิตอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่อยู่กับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งการทำจิตบำบัดอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับการใช้ยาต้านเศร้าได้ในบางกรณี นอกจากนี้ ผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาหรือความเครียดในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งคนในครอบครัว คู่รัก หรือเพื่อนร่วมงาน ก็อาจได้รับประโยชน์จากการทำจิตบำบัดได้ด้วยเช่นกัน
หากกำลังเผชิญปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพจิตใจ อารมณ์ และความคิด ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการตรวจหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำจิตบำบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีความรู้สึกหรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้ รู้สึกซึมเศร้า โกรธ หรือเครียด ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาในการทำงาน การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การทะเลาะเบาะแว้งกับคู่รักหรือคนในครอบครัว รวมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก และคุณภาพชีวิต รู้สึกไร้ที่พึ่งพา หมดหนทางในการดำเนินชีวิต หรือเผชิญกับความเศร้าหมองมาเป็นเวลานาน รู้สึกว่าปัญหาที่กำลังประสบไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้น แม้จะพยายามอย่างมาก หรือได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว เพื่อน หรือคนรอบข้างแล้วก็ตาม
เรียกว่าเป็นปริศนาของโลกใบนี้เลยก็ว่าได้กับการตามหาความสุขที่หายไปของคนสมัยนี้ที่มีแต่เรื่องยุ่งเหยิงเข้ามารบกวนจิตใจ จนหลายคนต้องตกลงสู่ภาวะของการเป็นโรคทางจิตใจ อย่างเช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรควิตกกังวล เป็นต้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วความสุขที่ตามหานั้นไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล แต่เนื่องจากสมองของคนเราคิดไปแล้วว่า ชีวิตนี้หาความสุขและความสบายใจให้กับตัวเองไม่ได้ ทำให้ใช้เวลาจำนวนมากในแต่ละวันไปการจมอยู่กับมุมมองเดิมๆ แบบซ้ำๆ ซึ่งเป็นเหมือนเขาวงกตที่ไร้ทางออก ซึ่งการจะทำลายความคิดในแง่ลบที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะเรากำลังถูกครอบงำด้วยอารมณ์และความรู้สึกที่จมดิ่ง ดังนั้น การเติมข้อมูลใหม่ๆ หรือความรู้สึกใหม่ๆ จากบุคคลที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะพวกเขาเหล่านั้นมักจะมองเห็นตัวตนของเรา และทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนที่ช่วยยกระดับสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ให้ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่งจากการสนทนาเพื่อให้คำปรึกษา หรือจากการได้ระบายความทุกข์ ซึ่งการที่มีคนรับฟังอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เราสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้โดยไม่รู้สึกถึงความโดดเดี่ยวอีกต่อไปไม่ได้หมายความว่า บุคคลที่ 3 ทุกคนจะสามารถทำหน้าที่เป็นกระจก หรือทำให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นได้ แต่จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังคิดมากพอ ซึ่งถ้าเราเลือกผู้รับฟังปัญหาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานแพทย์ด้านจิตใจอย่างจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัดได้เลยก็จะยิ่งส่งผลดี

ส่วนการนำปัญหาไปปรึกษากับคนรอบข้างก็สามารถทำได้ แต่จะเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาในระดับเบื้องต้น ซึ่งต้องการกำลังใจหรือคำปลอบใจที่ทำให้รู้สึกดีขึ้นเพื่อลดระดับความเครียด แต่ถ้าการระบายให้คนรอบ ข้างฟังยังไม่สามารถเยี่ยวยาสุขภาพจิตใจได้ การเข้าพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาดูจะเป็นวิธีการที่ทำให้ความสับสนในจิตใจค่อยๆ ผ่อนคลายลงได้เร็วยิ่งขึ้น ความแตกต่างระหว่าง ‘จิตบำบัด’ กับ ‘จิตแพทย์’สำหรับสายงานในด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาด้านจิตใจ จริงๆ แล้วจิตบำบัดมีหลากหลายสาขาวิชาชีพด้วยกัน แต่ 2 อาชีพที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยๆ นั้นจะเป็นสาขาจิตแพทย์ และนักจิตบำบัด ซึ่งก็สร้างความสับสนให้กับหลายคนอยู่ไม่น้อยว่า หากมีอาการป่วยหรือรู้สึกไม่สบายใจในแบบที่เป็นอยู่นี้ควรจะเข้าไปพบใครถึงจะตอบโจทย์กับอาการที่เราเป็นได้มากที่สุดส่วนงานด้านจิตแพทย์จะเป็นสายงานที่สามารถให้ได้ทั้งคำปรึกษา การวินิจฉัยโรค รวมถึงทำการรักษาผ่านการใช้ยาหรือการกระตุ้นสมอง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีต้นตอของอาการทางจิตที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในส่วนการทำงานของสมอง ผู้ป่วยที่เหมาะจะเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์จึงจะเป็นกลุ่มที่มีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง และมีแนวโน้มสูงที่จะทำร้ายตัวเอง หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอันตราย เพราะจิตแพทย์จะสามารถจ่ายยาเพื่อควบคุมให้อาการเหล่านั้นทรงตัวหรือดีขึ้นได้ สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อต้องการรักษาสุขภาพจิตกับแพทย์ จิตบำบัด
- ความเข้าใจในกระบวนการรักษา หลายคนอาจเกิดความรู้สึกกังวล เมื่อต้องพูดคุยหรือเปิดใจกับจิตแพทย์หรือนักบำบัดจิต แต่ถ้าหากเราเตรียมตัวด้วยการทำความเข้าใจในกระบวนการรักษามาก่อนแล้วว่า การเข้ารับการรักษาในแต่ละครั้งจะเป็นความลับที่มีแค่ตัวเรากับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะรับรู้ก็จะช่วยลดความรู้สึกไม่ไว้ใจลงไปได้ นอกจากนี้ กระบวนการให้คำปรึกษาจะไม่ได้ตัดสินว่า สิ่งนี้ที่เรารู้สึกเป็นเรื่องผิดหรือถูก แต่จะเป็นเพียงโจทย์ข้อหนึ่งที่ตัวผู้ป่วยและหมอจะต้องช่วยกันค้นหาต้นตอผ่านการถาม-ตอบ ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว ถ้าจะพูดให้เข้าใจแบบง่ายๆ ก็คงเหมือนกับการพูดคุยกับเพื่อนที่รู้ใจ ที่ถ้าหากเราไว้วางใจในเพื่อนผู้เชี่ยวชาญคนนี้ก็จะทำให้การกอบกู้สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ให้กลับมาสดใสทำได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น
- การยอมรับในตัวเอง เพราะปัญหาทางใจส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่คนเราไม่ค่อยจะใจดีกับตัวเอง บีบคั้นและคาดหวังตนเองไว้สูง ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสม จนนำไปสู่โรคทางใจอีกมากมาย ซึ่งถ้าเราสามารถยอมรับความทุกข์และความเจ็บปวดตรงนี้ได้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเราจะสามารถยอมรับการปรับเปลี่ยนมุมมองทางความคิดได้ดีมากขึ้น
- เวลา ต้องเข้าใจก่อนว่า โรคทางใจไม่เหมือนกับโรคทางร่างกายที่สามารถมองเห็นผลของการรักษาได้ค่อนข้างแน่นอน เพราะโรคทางใจจะรักษาหายหรือไม่หายนั้น จะขึ้นอยู่กับความลับซับซ้อนทางด้านจิตใจและประสบการณ์ของตัวผู้ป่วยว่าเลวร้ายมาก-น้อยแค่ไหน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเจาะลึกถึงปัญหาก่อนจะทำการรักษา รวมถึงต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและคนรอบข้างในแง่ของการปรับตัวและเข้าใจถึงปัญหาค่อนข้างมาก ดังนั้น ก่อนการเข้ารับการรักษาจึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคทางใจที่เกิดขึ้นในแต่ละคนนั้นมีระยะเวลาในการเยียวยาที่แตกต่างกัน สรุป จิตบำบัด อย่าปล่อยให้สุขภาพจิตย่ำแย่เพียงเพราะความโดดเดี่ยวที่เราสร้างขึ้นมาเอง ทางที่ดีควรเดินหน้าเข้ารับการรักษา รวมถึงทำความเข้าใจในตัวเองให้ทันเวลา เพื่อป้องกันปัญหาโรคทางใจที่จะตามมาในอนาคต
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy