ramahealthy

การเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ปัญหาโภชนาการของคนไทย เกิดจากหลากหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญคือ คนไทยส่วนมากยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้อง ทำให้ขาดความรู้และเจตคติที่ดีต่อการกินอาหารที่นำไปสู่การมีภาวะโภชนาการและสุขอนามัยที่ดี ตามโภชนบัญญัติ 9 ข้อ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยส่วน “น้ำหนักตัว” เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างง่ายถึงภาวะสุขภาพ ในผู้ใหญ่ที่กินอาหารได้เหมาะสม จะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม มีรูปร่างที่ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป และมีน้ำหนักตัวค่อนข้างคงที่ หากสังเกตเห็นว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากน้ำหนักปกติ แสดงให้เห็นว่าเริ่มกินอาหารมากเกินไปแล้ว ควรต้องหันมาควบคุมหรือลดปริมาณให้น้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดัน มะเร็งบางชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทย การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ ทำได้โดยการกินอาหารให้เหมาะสม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ประมาณ 20-30 นาที/ครั้ง (สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง) ดังนั้น จึงควรหมั่นชั่งน้ำหนักตัวเป็นระยะ อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญในการให้พลังงาน สารอาหารที่มีมากในข้าว ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน โดยเฉพาะข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ ซึ่งเป็นข้าวที่ขัดสีน้อย และเป็นข้าวที่มีประโยชน์มากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกกินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีนและใยอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว ส่วนอาหารแป้ง เช่น ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ให้กินเป็นบางมื้อ อาหารแป้งเป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูป ใยอาหารจะมีน้อยกว่าในข้าว แต่เหนือสิ่งอื่นใดการกินหารแต่ละประเภทก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะถ้ากินข้าวและแป้งมากเกินความต้องการ สิ่งเหล่านั้นก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน เก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เกิดโรคอ้วนได้

พืชผักและผลไม้ เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งสารอื่นๆ เช่น สารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยไม่ให้อนุมูลอิสระทำลายเนื้อเยื่อและผนังเซลล์ ช่วยชะลอการเสื่อมสลายของเซลล์ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูสดใส ไม่แก่เกินวัย นอกจากนี้ใยอาหารที่ได้จากการกินผักและผลไม้ยังช่วยในการขับถ่าย พร้อมนำโคเลสเตอรอลและสารพิษที่ก่อโรคมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกาย ทำให้ลดการสะสมของสารเหล่านั้น ผักและผลไม้หลายอย่างให้พลังงานต่ำ ดังนั้นหากกินให้หลากหลายและเป็นประจำจะไม่ทำให้เกิดโรคอ้วน และไขมันอุดตันในเส้นเลือด ประเทศไทยมีผักและผลไม้ตลอดทั้งปี สามารถเลือกหามาบริโภคกันได้ทุกฤดูกาล ดังนั้นจึงควรสร้างพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ให้เกิดขึ้นกับทุกคน และทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นที่ร่างกายต้องการวิตามินและแร่ธาตุ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างให้ร่างกายทุกระบบทำงานได้เป็นปกติ

ถึงแม้ไขมันจะเกี่ยวข้องกับปัญหาโภชนาการ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูงที่นำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ร่างกายก็ต้องการไขมันเพื่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เพียงแต่จะต้องควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันที่จะบริโภคให้เหมาะสม ลดอาหารที่มีไขมันมาก เช่น หมูสามชั้น ขาหมูพะโล้ และอาหารที่ใช้น้ำมันจำนวนมากในการประกอบอาหาร เช่น อาหารทอด ผัด และอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ ถือว่าเป็นอาหารที่มีไขมันสูง จึงควรกินในปริมาณที่เหมาะสม

การกินอาหารที่สะอาดนับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเชื้อโรค พยาธิ สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ และควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มีการผลิตที่ถูกต้อง มีการเก็บรักษาที่เหมาะสม อาหารสำเร็จรูปควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม สะอาด มีฉลากที่ถูกต้อง บอกวันหมดอายุ ส่วนประกอบ ชื่ออาหาร สถานที่ผลิต นอกจากนี้ควรมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การใช้ช้อนกลาง หรือใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารมากกว่าการใช้มือเมื่อดื่มมาก จะมีผลทำให้การทำงานของระบบสมองและประสาทช้าลง ทำให้เกิดการขาดสติได้ง่าย และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคตับแข็งและการขาดสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด ดังนั้นควรลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด

โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในเรื่องของจำนวนและการเสียชีวิต ที่เฉลี่ยแล้วเพิ่มมากขึ้น ในทุกเพศทุกวัยและทุกปี สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยปี 2561 พบว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด ตามลำดับ

กลุ่มสารอาหารที่ร่างกายต้องการหลัก ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ที่ต้องเลือกรับประทานเพื่อสุขภาพ ให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานในกิจกรรมประจำวันของเรา ควรรับประทานให้เหมาะสม หากเรามีกิจกรรมที่เบา ใช้พลังงานน้อย แต่รับประทานเกินจะทำให้น้ำหนักเพิ่มเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ พลังงานที่ใช้เผาผลาญในกิจกรรมต่างๆ จะมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ขึ้นกับ เพศ อายุ มวลกล้ามเนื้อ น้ำหนัก ฯลฯ ขอยกตัวอย่างการเผาผลาญแต่ละกิจกรรมในเวลา 1 ชั่วโมงของคนที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม

การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพประเภทแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ แนะนำเลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่ดี จำพวก โฮลวีต ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอร์รี ข้าวหอมนิล ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต เพราะมีใยอาหารสูงเป็นต้น ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน

อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนมีทั้งจากพืชและจากสัตว์ รวมถึง ไข่และนม แนะนำรับประทานให้หลากหลาย สำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แนะนำเลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันไม่สูง เช่น ปลา ไข่ต้ม เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน/ติดหนัง(3) ไขมัน เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย สัดส่วนที่เหมาะสมคือ ร้อยละ 15 – 30 ของพลังงานจากอาหารทั้งหมด โดยเป็นสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าร้อยละ 10  นอกจากนี้การจะกินอาหารให้เฮลท์ตี้ ควรลดหรือเลี่ยงอาหารที่มีสารอาหารน้อย แต่อาจทำให้เราได้รับพลังงานมาก เช่น เบเกอรี เนื้อสัตว์แปรรูป เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล ไอศกรีม พิซซ่า อาหารทอด ฯลฯ เลือกรับประทานตามหลักจานสุขภาพ 2:1:1 ที่ช่วยให้รับประทานในสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม เป็นการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทำได้โดยกำหนดปริมาณผัก 2 เท่าของข้าว (หรือครึ่งจาน) และข้าวเท่าเนื้อสัตว์ (หรือ 1 ใน 4 ของจาน) เช่น สั่งเมนูผัก 1-2 เมนู และอีกเมนูเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน มีผักแนมผักเคียงในมื้อ หากกับข้าวมีโปรตีนน้อยเกิน อาจเพิ่มไข่ต้มตามความสะดวก

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ