ramahealthy

กาฬโรค

กาฬโรค (อังกฤษ: plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic ) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก

กาฬโรคยังเป็นโรคประจำถิ่นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดียสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มองโกเลีย เมียนมาร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมีการระบาดใหญ่เป็นครั้งคราว เช่น การระบาดของกาฬโรคปอดบวมในเอกวาดอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 หรือการเกิดกาฬโรคทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นลักษณะกระจาย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 พบผู้ป่วย 5 – 15 ราย/ปี)บางพื้นที่พบผู้ป่วยเพียงรายเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยผู้ป่วยจะมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ประเภทฟันแทะในป่า หรือหมัดที่อาศัยบนตัวสัตว์ฟันแทะ และไม่มีการติดต่อจากคนสู่คนในสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467

สถานการณ์โรคในประเทศไทย : ได้รับรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งแรกโดยนายแพทย์เอช แคมเบลไฮเอ็ต เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล พบผู้เสียชีวิตที่น่าสงสัยจะเป็นกาฬโรคบริเวณที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดียทางฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 การระบาดของโรคสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากหนูที่มีเชื้อกาฬโรคติดมากับเรือสินค้าที่มาจากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดียซึ่งเป็นแหล่งที่เกิดการระบาดของกาฬโรค หลังจากนั้นโรคก็แพร่ระบาดออกไปหลายท้องที่ของฝั่งธนบุรี และข้ามมาระบาดในฝั่งพระนครอีกหลายท้องที่ รวมถึงรอบนอกของพระนครด้วย โดยมีการเกิดโรคในฝั่ง พระนครและธนบุรีติดต่อกัน 2 ปี จากนั้นก็ระบาดไปตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการค้าขายติดต่อกัน ทั้งทางบก ทางเรือ และทางรถไฟ โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางตลาดใหญ่ๆมีการค้าขายมาก และมีรายงานการเกิดกาฬโรคอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. 2495 จากนั้นไม่มีรายงานการเกิดกาฬโรคในประเทศไทยจนกระทั่งปัจจุบัน

อาการของโรค : อาการและอาการแสดงเริ่มแรกจะยังไม่จำเพาะ คือ มีไข้ หนาวสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้ออาเจียน ไม่มีเรี่ยวแรง เจ็บคอ และปวดศีรษะ อาการต่อมนํ้าเหลืองอักเสบจะเกิดในบริเวณที่ต่อมเหล่านั้นรับนํ้าเหลืองมาจากบริเวณที่ถูกหมัดกัด มักเป็นบริเวณขาหนีบ (ดังรูปที่ 9) และอาจจะพบร่องรอยของแผลหมัดกัดเหลืออยู่ ต่อมนํ้าเหลืองที่อักเสบจะบวม แดง เจ็บและอาจจะกลายเป็นฝี มักจะมีไข้ร่วมด้วยเสมอ ภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด(ดังรูปที่ 10) ปอดบวม (ดังรูปที่ 11) หากไม่ได้รับการรักษาก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ ร้อยละ 50-60 โรคกาฬโรคนี้นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข. การวินิจฉัยโรค : การตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์นั้นพบเชื้อจากหนองที่ดูดมาจากฝี เสมหะ หรือนํ้าไขสันหลังมีรูปร่างยาวรีติดสีแกรมลบที่หัวและท้าย ลักษณะเหมือนเข็มกลัดซ่อนปลาย ก็อาจเป็นเชื้อกาฬโรค แต่ยังต้องตรวจยืนยันต่อไป การตรวจด้วย FA test หรือใช้ Antigencapture ELISA หรือ dipstick formats หรือ PCR จะจำเพาะกว่า และมีประโยชน์ในบางกรณี การวินิจฉัยต้องยืนยันด้วยการเพาะเชื้อ และตรวจพบเชื้อจากสารเหลวที่ดูดมาจากฝี

การรักษา : การให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาจะมีประสิทธิผลสูง หากใช้รักษาในช่วงแรกเมื่อเริ่มมีอาการยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) เป็นยาเลือกอันดับแรก ใช้ ยาเจนตามิซิน (Gentamicin) ได้หากไม่มียาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ส่วนยาเตตราซัยคลิน (Tetracyclines) และยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenical) เป็นยาตัวเลือกลำดับต่อไป สำหรับการรักษากาฬโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ควรใช้ยาคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenical) หลังการรักษาด้วยยาได้ผลไข้ที่เกิดขึ้นทีหลังอาจจะเกิดจาก การติดเชื้อซํ้าซ้อนหรือจากฝีเป็นหนองมากขึ้น ถึงขั้นต้องกรีดและระบายหนองออก หรือถ้าทำได้ควรผ่าตัดฝีออก

การแพร่ติดต่อโรค : กาฬโรคในคนที่แพร่ระบาดทั่วโลกเป็นผลจากการที่คนถูกหมัดหนู (Xenopsylla cheopis หรือ oriental rat fl ea) ที่มีเชื้อกัด สำหรับปัจจัยอื่น ได้แก่ การจับต้องสัตว์ที่เป็นโรคโดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ กระต่ายและสัตว์กินเนื้อชนิดอื่นๆ การหายใจละอองเชอื้ จากผปู้ ว่ ยหรือสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น แมว สุนัข การถูกสัตว์กัด การสัมผัสกับหนองฝีจากสัตว์ หรือการจับต้องตัวอย่างเชื้อที่เพาะเลี้ยงใน ห้องปฏิบัติการอย่างไม่ระมัดระวัง การติดต่อจากคนสู่คนโดยถูกหมัดคน (Pulex irritans)กัดเป็นสาเหตุสำคัญในสถานที่ที่มีการระบาดของกาฬโรค หรือมีหมัดในสัตว์เลี้ยงเป็นจำนวนมาก

กาฬโรค (Plague) เป็นโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแบคทีเรียชนิดนี้มักจะอาศัยอยู่ในสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดเล็ก เช่น หนูและกระรอก ซึ่งจะพบการระบาดของโรคมากในเขตชนบทและกึ่งชนบททั้งในแอฟริกา เอเชีย และสหรัฐฯโดยส่วนใหญ่คนจะได้รับเชื้อจากการถูกหมัดหนู (Rodent Flea) ที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวกัด หรืออาจติดเชื้อจากการสัมผัสเนื้อเยื่อหรือของเหลวของคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อกาฬโรคโดยตรง และยังสามารถติดต่อได้ทางเสมหะและการหายใจจากคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อนี้ได้ นอกจากนั้น หากผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดอาการที่มีความรุนแรงมากหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague) เริ่มต้นอาจทำให้เกิดอาการมีไข้และหนาวสั่นอย่างกะทันหัน รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองบวม เจ็บ หรือมีความรู้สึกไว อย่างน้อย 1 จุด เช่น ขาหนีบ รักแร้ หรือคอ และจะมีขนาดประมาณไข่ไก่ โดยกาฬโรคชนิดนี้มักจะเกิดจากการถูกหมัดที่มีเชื้อกัด หากไม้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย

กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague) อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และทำให้ปอดบวมอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้มีอาการไอ หายใจตื้น เจ็บหน้าอก หรือบางรายอาจทำให้มีน้ำมูกไหลหรือน้ำมูกปนเลือด รวมไปถึงอาจทำให้การหายใจล้มเหลวหรือช็อกได้ภายใน 2 วัน หลังจากที่ติดเชื้อ

กาฬโรคปอด อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียแพร่กระจายสู่ปอด จากกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองหรือกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษที่ไม่ได้รับการรักษา นอกจากนั้น กาฬโรคชนิดนี้จะมีความรุนแรงที่สุดและสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายอาจตายและเปลี่ยนเป็นสีดำ (Gangrene) เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า และจมูก กาฬโรคชนิดนี้มีสาเหตุจากหมัดที่มีเชื้อกัดหรือผู้ป่วยสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ หรืออาจมีสาเหตุจากกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองหรือกาฬโรคปอดที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุของกาฬโรคมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) ซึ่งมักอยู่ในสัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู กระรอก ชิพมังค์ และกระต่าย โดยเชื้อสามารถแพร่มาสู่คนได้จากการถูกหมัดที่อาศัยอยู่กับสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวกัด และยังสามารถติตต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสกับคนและสัตว์ หรือผู้ป่วยรับประทานสัตว์ที่มีเชื้อกาฬโรคเข้าไป นอกจากนั้น เชื้อกาฬโรคยังสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ในกาฬโรคปอด แต่จะพบได้น้อยมากในผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองหรือกาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ

สัตวแพทย์และทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้องมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ เพราะต้องพบกับแมวหรือสุนัขที่อาจมีเชื้อกาฬโรคเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้งในเขตพื้นที่ที่มีสัตว์ที่มีเชื้อกาฬโรคอยู่มากก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้เช่นกัน กิจกรรมที่ชอบทำหรือ

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ