ประคบร้อนประคบเย็น

ประคบร้อนประคบเย็น
การประคบร้อนหรือเย็นเป็นวิธีหนึ่งในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ ทั้งอาการปวดที่เกิดจากการเจ็บป่วย มีไข้ หรือการได้รับบาดเจ็บระหว่างเล่นกีฬา วิ่งเล่น ซึ่งอาจมีได้ตั้งแต่ การหกล้ม ศีรษะกระแทกจากการปะทะ การบาดเจ็บ ฟกช้ำของส่วนต่างๆของร่างกายการประคบร้อนและการประคบเย็น นับเป็นวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยลดอาการปวด บวม อักเสบ จากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จากการเล่นกีฬา รวมไปถึงช่วยฟื้นฟูให้บาดแผลผ่าตัดฟื้นตัวได้ไวขึ้นหลังทำศัลยกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเสริมจมูก ทำตาสองชั้น แต่หลายคนก็ยังสับสนกันอยู่ว่าการประคบร้อนและประคบเย็น มีความแตกต่างอย่างไรและจะใช้ประคบตอนไหนบ้างประคบเย็น

ประคบเย็น
หากบาดเจ็บด้วยอาการนี้ควรประคบเย็นอย่างน้อย 15-20 นาที อย่างเช่น บริเวณที่มีอาการปวดบริเวณต่างๆ เลือดกำเดาไหล โดยทั่วไปการประคบเย็นจะมีประโยชน์ในการช่วยลดการอักเสบให้น้อยลง ส่วนการประคบร้อนตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ข้อต่อและเส้นเอ็นการประคบเย็นจะเกิดผลดีที่สุดเมื่อนำมาใช้กับอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ตัวอย่างเช่น ใช้ถุงน้ำแข็งหรือถุงเก็บความเย็นในทันทีที่เกิดแผลฟกช้ำหรือเคล็ดขัดยอก ซึ่งสามารถช่วยลดอาการบวมโดยทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้น ๆ หดตัว และการประคบเย็นจะเกิดผลดีที่สุดหากทำในทันทีหรือภายใน 24-48 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บหากเป็นอาการเจ็บปวดเรื้อรังหรืออาการที่กลับมาเกิดซ้ำจึงจะจำเป็นต้องใช้การประคบร้อน เพราะต้องให้มีการไหลเวียนของเลือดซึ่งประกอบด้วยออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นในการฟื้นฟูหรือบรรเทาอาการ

ประคบร้อน
ควรประคบร้อนหลังจากที่ผ่านไป 45 นาทีไปเเล้ว อย่างเช่นพวกคลายกล้ามเนื้อ หรือประคบตรงบรเวณที่มีอาการตึงตามร่างกายประคบร้อนจะช่วยให้การไหลเวียนโลหิตบริเวณที่ประคบดีขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมได้เป็นอย่างดี และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อที่ตึงหรือเกร็งคลายตัวลง และยังช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายหรือเกิดความเสียหายให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง
ระมัดระวังบริเวณที่ไม่ควรประคบร้อน คือบริเวณที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นอาการฟกช้ำหรืออาการบวมและอาจไม่ใช่เลยทั้ง 2 อย่าง ซึ่งในกรณีนี้อาจใช้วิธีประคบเย็นไปก่อน รวมไปถึงไม่ควรใช้วิธีประคบร้อนลงบริเวณที่เป็นการบาดเจ็บที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะอาจจะทำให้แผลฟื้นฟูได้ช้าและอาจทำให้เกิดการอักเสบได้การบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา อาจมีได้ตั้งแต่การหกล้มแล้วเกิดฟกช้ำของร่างกายส่วนต่าง ๆ ข้อเท้าแพลง กล้ามเนื้อฉีกขาดหรือปะทะกันจนเอ็นยึดหรือฉีกขาด หรือข้อเข่าบวมมีเลือดออก เป็นต้น การประคบเย็นและประคบร้อนตามหลักการที่ถูกต้องจะช่วยแก้ปัญหาได้ในเบื้องต้นเมื่อมีการบาดเจ็บและเกิดการบวมขึ้น เพราะเส้นเลือดของส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีการฉีกขาด เลือดออกตรงตำแหน่งนั้น การใช้ความเย็นร่วมกับการออกแรงกดส่วนที่บวมนั้น ความเย็นจะไปช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัวจะช่วยทำให้เลือดออกน้อยลง การใช้ความเย็นประคบจะใช้ภายใน 24 – 48 ชมผู้ป่วยที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดจำนวนมากที่มีปัญหามาจากอาการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นบริเวณต่างๆ เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดหลัง ปวดเข่า เป็นต้น ซึ่งอาการที่กล่าวมานับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน ซึ่งการใช้ความร้อนหรือความเย็นสามารถทำให้อาการปวดในบริเวณต่างๆ ลดลงได้ โดยมีการเลือกใช้ดังนี้
ผลของความร้อนที่มีต่อบริเวณที่ประคบ
อุณหภูมิของเนื้อเยื่อที่สูงขึ้น มีผลทำให้หลอดเลือดขยาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่บริเวณนั้นๆ ทำให้การประคบร้อนไม่เหมาะกับบริเวณที่มีการอักเสบเฉียบพลันใหม่ๆ หรือ มีเลือดออก แต่ดีกับการอักเสบเรื้อรัง ที่สำคัญคือ ความร้อนทำให้ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อดีขึ้น ง่ายต่อการยืดกล้ามเนื้อหรือ ข้อต่อมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้สึกผ่อนคลายดังนั้น สามารถประคบร้อนได้ในกรณีต่างๆ
มีลักษณะอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ หรือเอ็น หรือ ข้อติด (muscle/ tendon tightness or joint contracture) ใช้เมื่อต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ลดอาการข้อติด การประคบร้อนทำให้เนื้อเยื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นปวดจากกล้ามเนื้อจมยึด (trigger point or myofascial pain) กล้ามเนื้อที่ตึงตัวจนคลำได้เป็นก้อน มีอาการกดเจ็บ ที่ตำแหน่งเดิมๆ (trigger point) มักเกิดร่วมกับบริเวณที่มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อ สามารถใช้ความร้อนในการช่วยลดอาการตึงตัวดังกล่าวได้ในเบื้องต้นต้องไม่ประคบร้อนในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือเลือดออก เพราะจะยิ่งทำให้มีอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จะประคบร้อนได้ก็ต่อเมื่อการอักเสบน้อยลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน
ผลของความเย็นที่มีต่อบริเวณที่ประคบ
อุณหภูมิที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อ มีความยืดหยุ่นลดลง หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหดตัว ความเย็นจึงมีผลช่วยห้ามเลือด ลดอาการบวมเป็นหลัก จึงสามารถประคบเย็นเมื่อถ้าปวดมานานแล้ว แต่ช่วงนี้ปวดมากขึ้น (acute on top of chronic inflammation) ให้สงสัยว่า มีอาการอักเสบเฉียบพลันซ้ำไว้ก่อน ให้ประคบเย็นในช่วงแรกอาการปวด บวม แดง ร้อน (acute inflammation) ถ้าบริเวณที่ปวดมีลักษณะเช่นนี้ชัดเจน บ่งบอกถึงอาการอักเสบเฉียบพลัน ให้ประคบเย็นไว้ก่อนหลังจากการผ่าตัดกระดูกและข้อ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ข้อเข่า การผ่าตัดหลังกระดูกหักต่างๆ มักใช้ความเย็นเพื่อช่วยลดอาการบวม
ข้อควรระวัง
ห้ามประคบน้ำแข็งกับผิวหนังโดยตรง แต่ควรห่อด้วยผ้าขนหนูไว้ และห้ามประคบนานเกิน 15-20 นาที/ครั้ง เพราะอาจทำให้ผิวไหม้จากความเย็น (Frostbite) หรือเกิดอาการบาดเจ็บอื่น ๆ ได้ไม่ควรประคบเย็นในอาการบาดเจ็บที่รุนแรงมาก เพราะร่างกายอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงมากเกินกว่าที่ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการได้ประคบเย็นด้วยความระมัดระวังอย่างสูงในบริเวณที่ผิวหนังมีความสามารถในการรับความรู้สึกลดลง อันเป็นผลมาจากความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy