ยาสามัญประจำบ้าน
หลายๆ บ้านนั้น ตู้ยาที่บ้านนั้นเต็มไปด้วยยาหลากหลายมาก ประหนึ่งเป็น ร้านขายยา 24 ชั่วโมงที่จัดส่ง delivery ถึงเราตลอดเวลา ที่ป่วยเมื่อไหร่ก็มาหาได้ที่ตู้นี้อะน่ะ หนึ่งในนั้นก็ตู้ยาของบ้านแอดมินด้วย โดยเฉพาะยาโรคประจำตัวของเราเองและคนอื่นๆ ในบ้านก็จะถูกยัดรวมอยู่ในตู้นั้น แล้วยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร บทความนี้จะเล่าให้ฟังกันอย่างละเอียดเลยทีเดียวอาการเจ็บป่วยต่างๆ เป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้และสามารถเกิดขึ้นได้อยู่เสมอครับ แต่ในยุค New Normal แบบนี้ หลายๆคนเลือกที่จะงดเดินทางออกจากบ้านไปโรงพยาบาล เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงมองหาตัวเลือกอื่นๆแทน ซึ่งในอาการที่ไม่รุนแรงมาก เช่น ปวดหัว ท้องเสีย หรือวิงเวียนนั้น สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้เองโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ ด้วยยาสามัญประจำบ้านนั่นเองครับ เพราะฉะนั้นอย่าละเลยที่ต้องเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกันหากเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ครับ วันนี้มาเช็คดูกันดีกว่าครับ ว่ายาตัวไหนบ้างที่ควรมีติดบ้านไว้อยู่เสมอ

ยา แก้ไอ ละลายเสมหะ
ใช้สำหรับรักษาภาวะอาการที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้นจนเป็นปัญหาต่อการหายใจจากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจครับ โดยจะมีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ แต่ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ยาน้ำในการบรรเทา เช่นยาแก้ไอน้ำดำที่คุ้นหูนั่นเองครับ เพราะมีตัวยาที่สำคัญ คือ ฝิ่นมีฤทธิ์ระงับการไอ และ ชะเอม มีฤทธิ์ขับเสมหะและช่วยทำให้ชุ่มคอ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กับเด็ก และสตรีมีครรภ์
ยาแก้แพ้ แก้หวัด ลดน้ำมูก
ใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้ต่างๆ แพ้ฝุ่นละออง คัดจมูก น้ำมูกไหล ผื่นลมพิษ เป็นต้น รวมถึงใช้เพื่อบรรเทาอาการคันอีกด้วยครับ โดยไม่ควรทานในขณะที่ต้องขับรถหรือทำงาน เนื่องจากยาชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการง่วงนอน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 1 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที เพราะอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลยครับ
ยา ล้างแผล
ยาล้างแผล โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็น น้ำเกลือ หรือ แอลกอฮอล์ ใช้สำหรับล้างทำความสะอาดแผล เพื่อช่วยชะล้างเชื้อแบคทีเรีย สิ่งปนเปื้อน และสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกจากแผล เป็นการขจัดสิ่งรบกวนการสมานแผล และลดโอกาสการเกิดแผลติดเชื้อ ก่อนทำการใส่ยารักษาแผลนั่นเองครับ สามารถใช้ล้างแผลได้มากมายไม่ว่าจะเป็น แผลถูกบาด แผลฉีกขาด แผลถลอก แผลผ่าตัด แผลกดทับ แผลเรื้อรังจากเบาหวาน แผลไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น เมื่อเปิดใช้งานแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน
ยาใส่แผล ฆ่าเชื้อโรค
ยาใส่แผล ใช้ภายหลังจากที่ล้างแผลและเช็ดทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว เป็นยาฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้กว้างทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา โดยหยดยาใส่บริเวณที่แผลตามความเหมาะสมของขนาดแผล ไม่เยอะชุ่มจนเกินไป ตัวยาจะระเหยไปเองอย่างรวดเร็วครับ นอกจากนั้นแล้ว ในช่วงที่มีไวรัสโควิด-19 ระบาด ยังสามารถทำน้ำยาฆ่าเชื้อได้ด้วยตนเอง โดยการนำยามาผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำมาใช้เป็นสเปรย์ฉีดพ่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนพื้นผิว หรือ สิ่งของได้เลย

ยาทาแก้ผื่นคัน จากเชื้อรา หรือ การอักเสบ
เพียงแค่อากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะร้อน หนาว ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวระคายเคืองได้ครับ โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน หรือ ผื่นนั่นเอง สำหรับยาที่ใช้เพื่อแก้อาการผื่นคันนั้นมีหลายรูปแบบมากครับ ไม่ว่าจะเป็นแบบทาน แบบครีม หรือแบบโลชัน โดยสามารถเลือกใช้ยาแก้ผื่นคันตามอาการ เช่น อาการผื่นคันจากเชื้อรา หรือการอักเสบ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาผิวหนังเมื่อมีอาการคันให้มากที่สุดครับ เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณผิวหนังนั่นเอง อย่างไรก็ตามหากมีอาการคันนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาให้ตรงจุด
“ยาสามัญประจำบ้าน” คือ ตัวยาที่กระทรวงสาธารณะสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาอันเหมาะสมที่ประชาชนควรซื้อมาไว้ประจำบ้านของตนเอง เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการใช้ดูแลตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งยาสามัญประจำบ้านนั้นเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่ต้องมาควบคู่กับการใช้งานที่ถูกต้องก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย อีกทั้ง ยาสามัญประจำบ้านยังเป็นยาที่มีราคาถูกที่ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา ไปจนถึงร้านขายของชำทั่วไป โดยยาสามัญประจำบ้านที่ถูกระบุไว้มีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้รักษาโรคสามัญได้ทั้งหมด 16 กลุ่มโดยจะต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงอยู่บนฉลากของยาตัวนั้นๆ อย่างชัดเจน เนื่องจากยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนั้นถือได้ว่าเป็นยาที่ได้มาตรฐาน สามารถนำมาใช้รักษาโรค หรืออาการต่างๆ ได้ ต่อมาให้ดูเรื่อง วันหมดอายุ เพราะตัวยานั้นมีเวลาที่เสื่อมสภาพอยู่ จึงไม่ควรซื้อยาที่ใกล้วันหมดอายุ หรือหมดอายุแล้วมารับประทาน เพราะอาจทำให้เกิดผลเสีย หรืออันตรายต่อร่างกายได้ อีกทั้ง ยาที่ดีจะต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีสภาพดี ตัวยาต้องอยู่ครบสมบูรณ์ ยาเม็ดต้องไม่แตก สีเรียบ ไม่มีจุดแปลกปลอมบนตัวยา ส่วนยาน้ำต้องไม่มีการตกตะกอน แต่หากแขวนตะกอนเมื่อเขย่า ตะกอนนั้นต้องกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอเมื่อเราซื้อยาสามัญประจำบ้านมาไว้ติดบ้านก็จะต้องมีตู้ยาสำหรับใส่ยาเหล่านี้โดยเฉพาะ จะได้เกิดความเรียบร้อยและสะดวกเมื่อหยิบใช้ อีกทั้งยังช่วยรักษาตัวยาให้มีอายุการใช้งานได้ตามกำหนด แนะนำให้ทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ ให้แยกยาออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างชัดเจน ตัวยาไหนสำหรับรับประทาน ตัวยาไหนสำหรับใช้ภายนอกยาที่ดีจะต้องมีฉลากที่ระบุข้อมูลไว้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ตัวหนังสือไม่จาง ไม่ขาดหายต้องเก็บยาไว้ในที่ที่ไม่มีแสงแดด ไม่โดนความร้อน ไม่สัมผัสกับความชื้น หรืออยู่ใกล้กับเปลวไฟไม่ควรเก็บยาชนิดอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน เพราะอาจจะทำให้หยิบผิดได้ต้องเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและนี่ก็คือประโยชน์และความสำคัญที่แต่ละบ้านจะต้องมี “ยาสามัญประจำบ้าน” ติดเอาไว้ป้องกันโรคและอาการบาดเจ็บเบื้องต้นที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา อีกทั้ง ยาสามัญต่างๆ เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านทั่วไป แต่แนะนำว่าต้องศึกษาตัวยาและข้อมูลอื่นๆ ให้รอบด้านก่อนซื้อมาใช้ เพื่อจะได้เกิดประโยชน์ในการรักษาโรคได้อย่างปลอด
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy