อัลฟัลฟา

ต้นอัลฟัลฟา เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีขนาดเล็ก จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีทั้งคุณค่าทางโภชนาการและมีสรรคุณทางยา ถึงแม้อัลฟัลฟาจะเป็นพืชขนาดเล็ก แต่ก็อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายจนได้รับสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งอาหารทั้งมว
ในอดีตอัลฟัลฟาถูกใช้เป็นอาหารสำหรับการเเลี้ยงสัตว์และการทำปศุสัตว์ แต่ปัจจุบันอัลฟัลฟาได้กลายมาเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดเหมือนกับถั่วงอกและใส่ในอาหารเมนูต่าง ๆ
ประโยชน์ของ อัลฟัลฟา
ช่วยลดคอเลอสเตอรอล
อัลฟัลฟามีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งจะไปจับกับคอเลอสเตอรอลและเกลือในถุงน้ำดี จึงมีส่วนช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลได้ จากผลการวิจัยโดยการใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากอัลฟัลฟาที่อุดมไปด้วยสารซาโปนินช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในหนูทดลองได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นจะต้องทำการศึกษากับมนุษย์เพื่อใช้ในการยืนยันและรับรองได้อย่างเป็นทางการว่าอัลฟัลฟามีส่วนช่วยในการลดคอเลอสเตอรอลได้
เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ
ต้นอัลฟัลฟาแม้จะเล็กจิ๋ว แต่ก็เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งฟลาโวนอยด์ ไทอามีน ไฟโตอีสโตรเจน (Phytoestrogen)เป็นต้น ซึ่งจากผลการวิจัยหลายแห่งพบว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ ป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย และยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังอย่างโรคมะเร็งด้วย
ช่วยในเรื่องของระบบเผาผลาญ
จากผลการศึกษาที่พบว่าอัลฟัลฟามีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล โดยการปล่อยอินซูลินออกจากตับอ่อน ซึ่งกระบวนการนี้จะไปช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มขึ้น เพื่อผลลัพธ์อย่างเป็นทางการ
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการรับประทานอัลฟัลฟา
- หากกำลังตั้งครรภ์อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอัลฟัลฟา หรือควรสอบถามกับคุณหมอให้แน่ใจก่อน ทั้งนี้เพราะสารในอัลฟัลฟาอาจไปกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดตัวในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ได้
- หากรับประทานยาเพิ่มการไหลเวียนของเลือดควรหลีกเลี่ยงการกินอัลฟัลฟา เนื่องจากอัลฟัลฟามีวิตามินเคสูงซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับยาเพิ่มการไหลเวียนเลือด หรืออาจทำให้ไม่ได้รับประสิทธิภาพจากยาอย่างเต็มที่
- หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิต้านทานเช่น โรคลูปัส ควรงดรับประทานอัลฟัลฟา เพราะอาจทำให้อาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่กำเริบได้
- หากมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การรับประทานอัลฟัลฟาอาจไปกระตุ้นให้ร่างกายได้รับแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเสี่ยงที่จะทำให้เซลล์ในร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียได้
- ก่อนรับประทานอัลฟัลฟา หรือนำอัลฟัลฟาไปปรุงอาหาร ควรล้างให้สะอาดก่อนเสมอ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและแบคทีเรียที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
คุณค่าสารอาหารจากอัลฟัลฟา
- อัลฟัลฟ่ามีสารแคโรทีนและอุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องการฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลาย ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- สารไฟโตเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยสารที่จัดเป็นสารประเภทไฟโตรเอสโตรเจนที่มีอยู่ในอัลฟัลฟ่าได้แก่ Isoflavones, Coumestans และสาร Lignans แต่ในปัจจุบันยังไม่มีขนาดแนะนำในการรับประทาน แต่อย่างไรก็ดีการเพิ่มการบริโภคอาหารที่สารดังกล่าวจะสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งในร่างกายได้เป็นอย่างดี
- สารซาโปนินมีรสขม มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร จึงช่วยทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
- สารซาโปนินที่พบในอัลฟัลฟ่า มีลักษณะเหมือนกันกับที่พบในรากโสม ซึ่งมันมีสรรพคุณช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างเหมาะสมและเป็นปกติ
- อัลฟัลฟ่ามีเบตาแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นตัวช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย ช่วยทำให้ผิวหนังและเยื่อบุผิวหนังมีสุขภาพดี
- อัลฟัลฟ่าอุดมไปด้วยธาตุฟลูออไรด์และแคลเซียม มันจึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี
- ช่วยบำรุงเส้นผม ลดอาการผมร่วง ทำให้ผมหงอกกลับดำขึ้น
- ช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น
- ช่วยลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
- ช่วยลดระดับน้ำตาลและปรับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ในสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ใช้อัลฟัลฟ่าในการรักษาภาวะโลหิตจาง
- ช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด
- ช่วยกำจัดของเสีย ขับสารพิษออกจากร่างกาย ขับสารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน ลดการตกค้างของของเสียตามผิวหนัง ช่วยทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ผิวพรรณผ่องใสและสุขภาพที่ดีตามมา มันจึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ชอบรับประทานเนื้อสัตว์
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเมล็ดเลือดแดง ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
- สารซาโปนินจะช่วยลดการอุดตันของเกล็ดเลือดในเส้นเลือดฝอย ช่วยลดอัตราของการเกิดความจำเสื่อม และภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
- ช่วยส่งเสริมการดูดซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย
- อัลฟัลฟ่ามีส่วนช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะติดสารเสพติดและติดแอลกอฮอล์ได้
- ช่วยทำให้ผู้ที่เป็นภูมิแพ้มีอาการที่ดีขึ้น
- วิตามินเคจากอัลฟัลฟ่า จะช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
- จากการศึกษาพบว่าสารซาโปนินและสารประกอบอื่นในอัลฟัลฟ่ามีความสามารถในการยึดติดในคอเลสเตอรอลกับเกลือน้ำดี ช่วยป้องกันและชะลอการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหาร จึงช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในหลอดเลือด และช่วยควบคุมระดับความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ โดยในการศึกษาจากผู้ป่วยจำนวน 15 คน ที่ให้อัลฟัลฟ่าในขนาด 40 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 8 วัน พบว่าผู้ป่วยมีระดับคอเลสเตอรอลรวมและไขมันเลวลดลงประมาณ 17-18%
- อัลฟัลฟ่ามีไฟเบอร์จากธรรมชาติอยู่สูงมาก และยังมีประโยชน์ในการช่วยฟื้นฟูภาวะลำไส้อ่อนแอ ช่วยในการลำเลียงของเสียออกจากระบบได้เป็นอย่างดี จึงทำให้หลอดลำไส้มีสุขภาพที่ดี
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารและอาการดูดซึมอาหารได้ไม่ดี
- แพทย์ชาวจีนได้มีการนำใบอัลฟัลฟ่าอ่อนเพื่อใช้ในการรักษาอาการย่อยไม่เป็นปกติ เช่นเดียวกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบและดอกในการรักษากระบวนการย่อยที่ทำงานได้น้อย (ใบ, ดอก)
- มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร เช่น การมีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก มีอาการจุดเสียดเป็นประจำ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคเบื่ออาหาร เป็นต้น และอัลฟัลฟ่ายังมีเอนไซม์ที่ช่วยทำให้การดูดซึมอาหารภายในร่างกายเป็นปกติ มีสารที่ช่วยเคลือบผิวของกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง และยังพบว่าอัลฟัลฟ่าสามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องเนื่องจากมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ได้เป็นอย่างดี
- อัลฟัลฟ่ามีคุณสมบัติที่ช่วยในการขับถ่ายและการปัสสาวะให้เป็นปกติ ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก บรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร
- อัลฟัลฟ่ายังถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ในกระเพาะปัสสาวะ ไต และต่อมลูกหมากที่ทำงานผิดปกติ
- อัลฟัลฟ่างอกเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะการหมดประจำเดือนของสตรี
- สาร Isoflavone ในอัลฟัลฟ่าถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ ซึ่งในสตรีในช่วงใกล้หมดประจำเดือนจะมีระดับเอสโตรเจนต่ำลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและเกิดภาวะกระดูกเสื่อม และสารดังกล่าวจะเข้าไปช่วยชดเชยระดับเอสโตรเจนที่ต่ำลง อีกทั้งยังช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการผิดปกติในช่วงมีประจำเดือน เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย มีอาการร้อนวูบวาบตามตัว เป็นต้น
- ช่วยปรับสภาพของผู้หญิงวัยทอง ลดปัญหาอันเกิดเนื่องมาจากภาวะวัยทอง
- อัลฟัลฟ่าถูกนำมาใช้ในประเทศจีนตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 6 โดยนำมาใช้เพื่อรักษาโรคไต และเพื่อบรรเทาอาการตัวบวมอันเนื่องมาจากการกักเก็บน้ำในร่างกายที่มากเกินไป
- ชาวอินเดียในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้อัลฟัลฟ่าในการรักษาโรคดีซ่าน
- มีการใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อช่วยบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ แก้อาการปวดข้อ ข้อแข็ง และรูมาตอยด์ เนื่องจากอัลฟัลฟ่าจะช่วยปรับสมดุลของกรดด่างในร่างกาย ช่วยป้องกันการสะสมตัวของกรดยูริกและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งจากหนังสือ Feel Like a Million ของแคทเทอรีน เอลวูล ได้ระบุว่าเมื่อให้ผู้ป่วยรูมาตอยด์ใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อรักษาอาการปวดตามข้อ พบว่าผู้ป่วยสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและอาการเจ็บปวดก็หายไป
- ช่วยระงับอาการปวดในโรคข้ออักเสบและถุงน้ำต่าง ๆ
- ช่วยลดแผลอักเสบ
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- ช่วยทำให้อาการชา บวม และเส้นเลือดขอดบรรเทาลง
- อัลฟัลฟ่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของแม่ได้ดีมากขึ้น