ramahealthy

อาการเนื่องจากการขาดสุราเเละการรักษา

หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการบ่งชี้ของภาวะ Alcohol Withdrawal ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและบำบัดอย่างถูกต้อง โดยเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วย ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยหยุดดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น จากนั้นอาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาตัวได้ที่บ้านตามปกติ แต่ควรอาศัยอยู่กับครอบครัวหรือเพื่อน เพราะจำเป็นต้องมีคนคอยช่วยเหลือหากอาการป่วยกำเริบ และบริเวณที่อยู่อาศัยควรเงียบสงบเหมาะแก่การพักรักษาตัว นอกจากนั้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัดหมายอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์มักตรวจเลือดและตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อบำบัดอาการเสพติดแอลกอฮอล์ และผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องรับประทานยากล่อมประสาทเพื่อบรรเทาภาวะถอนพิษสุราควบคู่ไปด้วย

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะคอยตรวจวัดความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับสารเคมีในเลือดชนิดต่าง ๆ ซึ่งแพทย์มักให้ผู้ป่วยรับประทานยากล่อมประสาทเพื่อบรรเทาภาวะถอนพิษสุรา ส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารและยาได้ด้วยตนเอง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำและยาผ่านทางหลอดเลือดดำ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะถอนพิษสุรา โดยปกติผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol Withdrawal มักประสบกับภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ ภาวะขาดน้ำ ภาวะน้ำและเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล ภาวะติดเชื้อ โรคตับอ่อนอักเสบผู้ป่วยที่เผชิญอาการดังข้างต้น โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะถอนแอลกอฮอล์ชนิดรุนแรง หรือเกิดกลุ่มอาการ Delirium Tremens ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

กลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุรา จัดเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์ของประเทศ เนื่องจากผู้เสพสุราเรื้อรัง ในประเทศไทยมีจำนวนค่อนข้างสูง ตราบจนปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาถึงความชุกของโรคพิษสุรา (alcoholism) ในประชากรไทย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาความชุก ของโรคพิษสุราในผู้ป่วยชาย ที่มารับบริการจาก แผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พบว่า เป็นโรคพิษสุราร้อยละ 25และรายงานจากกรมการแพทย์ และกองสถิติสาธารณสุขอาการอื่น ๆ ที่พบในระยะนี้ได้แก่ อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล อารมณ์ซึมหดหู่ หรือหงุดหงิด นอนหลับๆ ตื่นๆ มี autonomic hyperactivity เช่น ชีพจรเร็ว เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตขึ้นสูง บางคนอาจมีประสาทหลอน ซึ่งจะมีลักษณะไม่ชัดเจน และเป็นอยู่ไม่นานประมาณหนึ่งในสามของผู้ที่มีการชักจะเกิดอาการ alcohal withdrawal delirium ต่อไป และเมื่อเกิดอาการ delirium แล้วพบน้อยมากว่าจะเกิดการชักขึ้นอีก อาการชักหลังหยุดดื่มสุรานี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งถึง ความรุนแรงของการเป็น โรคพิษสุรา

Alcohol hallucinosis โดยมากเริ่มมีอาการภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากหยุดดื่ม ลักษณะอาการเด่น จะเป็นประสาทหลอน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงแว่ว เช่น เสียงนาฬิกา เสียงรถยนต์ เสียงระฆัง เสียงคนพูดกัน หรือพูดข่มขู่ผู้ป่วยผู้ป่วยจะหวาดกลัว ตื่นตระหนก กระสับกระส่าย อาการประสาทหลอนชนิดอื่นเช่นภาพหลอนพบได้น้อย แยกจากอาการ delirium โดยที่ ผู้ป่วยไม่มีอาการเพ้อ งุนงง สับสน หรือหลงลืมโดยทั่วไป จะมีอาการอยู่ไม่นาน เป็นเพียงชั่วโมงถึงหลายวัน ซึ่งผู้ป่วยจะค่อย ๆ รู้ตัวว่าเสียงที่ได้ยินนั้นไม่มีจริง มีอยู่ส่วนน้อยที่อาการไม่หายเป็นปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการนานเกินกว่า 6 เดือน

Alcohol withdrawal delirium (Delirium Tremens) อาการมักเกิดขึ้นหลังจากหยุดสุราได้ 2-3 วัน และจะรุนแรงมากที่สุดในวันที่ 4-5 เกิดในผู้ที่ดื่มสุราหนักมา 5-15 ปี และมีความเจ็บป่วยทางร่างกายร่วม เช่น อุบัติเหตุ โรคตับ โรคติดเชื้อลักษณะอาการสำคัญ คืออาการ delirium โดยมักเริ่มเป็นตอนเย็นหรือกลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน ประสาทหลอนเห็นคนจะมาทำร้าย เห็นตำรวจจะมาจับ หรืออาจเห็นเป็นสัตว์ต่าง ๆ รู้สึกว่ามีอะไรมาไต่ตามตัว บางครั้งหูแว่ว เสียงคนพูด เสียงคนข่มขู่ มีท่าทางหวาดกลัว บางครั้งพูดฟังไม่เข้าใจ ร้องตะโกน หรือหลบซ่อนตัว อาการเป็นตลอดทั้งคืน ช่วงเช้าส่วนใหญ่อาการจะทุเลาลง ตอนบ่ายอาการปกติดี ซึ่งเป็นการแกว่งไกวของอาการ (fluctuation) ญาติมักจะคิดว่าหายดีแล้ว แต่พอตกเย็น ผู้ป่วยก็เริ่มกลับมามีอาการอีก

ความรุนแรงและระยะเวลาที่เป็นในแต่ละกลุ่มอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน พบว่าร้อยละ 75-80 อาการเป็นน้อย ร้อยละ 15-20 มีอาการปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 5-6 เท่านั้นที่อาการรุนแรงจนถึงขั้น delirium tremens ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดอาการหลังจากอยู่โรงพยาบาลได้ 3 วัน อาการ delirium นี้เป็นไม่นาน ส่วนใหญ่จะมีอาการมากอยู่ ประมาณ 3 วันแล้วค่อย ๆ ทุเลาลง รายที่มีอาการอยู่นานพบว่าเป็นจากปัจจัยเสริมจากภาวะความผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ในสมัยก่อน อัตราการตายประมาณร้อยละ 15 ปัจจุบันประมาณร้อยละ 1-2

สาเหตุ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเป็นจากการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของสารสื่อประสาทต่าง ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ ระบบแรกทำหน้าที่ยับยั้ง ซึ่งพบว่ามีการทำงานลดลง โดยมี gamma-amino-butyric acid (GABA) และ alpha -2- adrenergic receptor activity ลดลง ส่วนระบบที่สองซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นนั้นพบว่ามีการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนที่สำคัญ คือ มี N-methyl-D-aspartateactivity เพิ่มขึ้นจากการลดลงของ magnesium ทำให้เกิดภาวะ hyperexcit-ability นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นติดตามมา เช่นมี catecholamine และ corticotropin หลั่งออกมามาก

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีอาการ withdrawal อยู่เสมอทำให้บางส่วนของสมองอยู่ในภาวะถูกกระตุ้นอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะบริเวณ limbic ภาวะ hyperexcitability นี้จะถูกสั่งสมมากขึ้น จนถึงจุดหนึ่งที่ทำให้เกิด alcohol withdrawal seizure และ delirium เมื่อผู้ป่วยหยุดดื่มสุรา การวินิจฉัย การซักประวัติให้ละเอียดและการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะทางระบบประสาทเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อดูว่า มีโรคทางร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ จากการศึกษาผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลพบว่า มีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย ถึงร้อยละ 23 เช่น gastritis gastriculcer pancreatitis liver disease cardiomyopathy หรือ neurologic complication เป็นต้น

 ผู้ป่วย alcohol withdrawal ธรรมดานั้นไม่ค่อยมีปัญหาในการวินิจฉัย ผู้ป่วย alcohol withdrawal seizure ต้องแยกจากการชักที่มีมาจากสาเหตุอื่น โดยเฉพาะในรายที่มี focal seizure ผู้ป่วย alcohol hallucinosis ต้องแยกจากอาการ delirium tremens และผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากโรคจิตเวชอื่น ๆ ส่วนผู้ป่วย delirium tremens ต้องแยกจากภาวะ delirium จากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะ hepatic encephalopathy และภาวะการขาดสมดุลของเกลือแร่ การส่งตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น serum magnesium level liver function test prothrombin time หรือ EEG อาจจำเป็นในกรณีมีข้อบ่งชี้การรักษา อาการ alcohol withdrawal ที่ไม่รุนแรงนั้น แม้จะไม่ให้การรักษาด้วยยา อาการ ก็ทุเลาลงเองได้ที่พอทราบ คือ ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติ ของ delirium tremens จะมีโอกาสเกิดได้อีกในการหยุดสุราครั้งต่อไป บางการศึกษาพบว่ามีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการรักษายังไม่มีปัจจัยใดที่จะช่วยบ่งว่า ผู้ป่วยรายใด ที่จะเกิดอาการรุนแรงซึ่งต้องให้ยาป้องกัน ความถี่บ่อยหรือปริมาณของการดื่มสุรา หรือระดับ enzyme aminotransferase นั้น ไม่ได้ช่วยในการบอกถึงความรุนแรงของอาการ

การรักษาทั่วไป ผู้ป่วยโรคพิษสุรามักพบการขาดสารอาหารร่วมด้วย โดยเฉพาะ thiamine B12 และ folic acid ในผู้ป่วย ที่การตรวจ ยังไม่ส่อถึงภาวะขาดอาหารการให้กิน thiamine 100 มก.และ folic acid 1 มก. ร่วมกับวิตามินรวม และสารอาหารอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลก็เพียงพอแก่การป้องกันการเกิด Wernicke-Korsakoff’s syndrome ในผู้ป่วย ที่ขาดอาหารอย่างมากนั้น ควรให้ thiamine 100-200 มก

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ