โรคกระดูกงอก

โรคกระดูกงอก เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อกระดูกเสื่อม แตก หัก ซึ่งร่างกายจะนำแคลเซียมไปซ่อมแซมและจะทำให้กระดูกนั้นๆ เสียรูปทรง เป็นแคลเซียมที่หนาผิดธรรมชาติ จึงเรียกว่ากระดูกงอก สามารถเกิดได้กับกระดูกทุกส่วนในร่างกายคนเรา พบบ่อยที่กระดูกไหล่และหลัง ซึ่งกระดูกงอกส่งผลอันตรายหลายด้าน อาจมีการทิ่มกล้ามเนื้อ เส้นประสาท อาการกระดูกงอก ได้แก่ อาการเจ็บปวดทรมาน ใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้คล่องแคล่วเหมือนปกติ มีการงอกโปนของกระดูก ไม่สามารถใช้งานอวัยวะนั้นได้ตามปกติ แต่บางรายอาจไม่มีอาการปวดร่วม
ปัจจัยสำคัญ ๆ การเกิดกระดูกงอก
- ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือการประสบอุบัติเหตุ
- ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป เช่น วิ่งหรือเต้นเป็นระยะเวลานาน
- มีน้ำหนักตัวมากเกิน
- อาการข้อต่อเสื่อมจากภาวะผิดปกติ
- ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม
หากใครที่พบปัญหาในเรื่องของโรคกระดูกงอก และส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันแล้ว แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการรักษาที่ถูกวิธี หรือแก้ไขต่อไป
ปัจจัยสำคัญ ๆ การเกิดกระดูกงอก
- ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือการประสบอุบัติเหตุ
- ใช้งานข้อต่อหนักเกินไป เช่น วิ่งหรือเต้นเป็นระยะเวลานาน
- มีน้ำหนักตัวมากเกิน
- อาการข้อต่อเสื่อมจากภาวะผิดปกติ
- ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม
หากใครที่พบปัญหาในเรื่องของโรคกระดูกงอก และส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันแล้ว แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการรักษาที่ถูกวิธี หรือแก้ไขต่อไป
การรักษาโรคกระดูกงอกมีไม่กี่วิธี ดังนี้
- ทานยาแก้ปวด และแก้อักเสบ
- การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่แข็งแรง
- การฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณเอ็นที่อักเสบ
- การผ่าตัด หากมีอาการเจ็บ ปวด และมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด เพื่อให้การเคลื่อนไหวของเอ็นดีขึ้น และลดการอักเส
การดูแลตนเอง
- เนื่องจากโรคกระดูกงอก ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำได้เพียงการดูแลตนเอง เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก หมอนรองกระดูก ด้วยอาหารที่มีแคลเซียมสูง โปรตีนจากเนื้อสัตว์ และไขมันจากปลา การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และข้อต่อ เพื่อให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการดูแลสุขภาพ
การวินิจฉัยกระดูกงอก
ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ถึงก้อนนูนใต้ผิวหนัง หรืออาจตรวจพบในระหว่างเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคอื่น โดยทั่วไป แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย และตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยอาจให้ผู้ป่วยทดลองขยับบริเวณที่เกิดกระดูกงอกเพื่อดูความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อต่อที่อาจผิดปกติ ในบางกรณีอาจให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อเพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง
นอกจากนี้ อาจใช้วิธีอื่น ๆ ในการวินิจฉัยร่วมด้วย ดังนี้
- การใช้ภาพวินิจฉัย เช่น การเอกซเรย์ ซีทีสแกน หรือเอ็มอาร์ไอ เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการจากภาพอวัยวะหรือโครงสร้างภายในที่ชัดเจนขึ้น
- การตรวจวินิจฉัยเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าเพื่อตรวจวัดความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สามารถวินิจฉัยเส้นประสาทที่เสียหายจากกระดูกงอกกดทับบริเวณโพรงกระดูกสันหลัง
การป้องกันกระดูกงอก
ถึงจะไม่มีวิธีป้องกันจากโรคกระดูกงอกได้อย่าแน่นอน โดยเฉพาะ ในเคสที่กระดูกงอก อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพตามวัยหรือขาดสารอาหารของข้อต่อ แต่อาจลดความเสี่ยงของโรคได้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของกระดูก
- การสวมรองเท้า ควรสวมรองเท้าที่เหมาะกับลักษณะของเท้า มีพื้นที่ด้านหน้ากว้างสำหรับนิ้วเท้า และ มีวัสดุรองรับอุ้งเท้า เช่น ฟองน้ำ ควรสวมรองเท้าที่ขนาดพอดีหรืออาจสวมถุงเท้าหนา ๆ เพื่อช่วยเพื่อลดแรงเสียดสีขณะเดิน
- ออกกำลังเพื่อลงน้ำหนัก อยู่เป็นประจำ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ หรือเดินขึ้นลงบันได เสริมสร้างความแข็งแรงและมวลให้กระดูก และช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีขึ้น
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้กระดูกและข้อไม่ต้องรองรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจนทำให้เกิดความเสียหายได้
- หากผู้ป่วยมีประวัติของโรคข้ออักเสบ หรือมีอาการปวด บวม หรือรู้สึกแข็งเกร็งตามข้อ ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการป้องกันการเกิดกระดูกงอก
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy