โรคความดัน
โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจของเรา ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจะเป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้โดยหากทราบว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งสามารถตรวจพบความเสียหายเหล่านี้ได้ ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปีและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย
โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิต ซึ่งเป็นขั้นตอนตามปกติของการนัดพบแพทย์ทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือมีปัจจัยเสี่ยงบางประการในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมักได้รับคำแนะนำให้วัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำ อย่างสม่ำเมสมอ สำหรับเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป จะได้รับการวัดความดันโลหิตในการตรวจสุขภาพประจำปี


เชื้อชาติ ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนผิวขาว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายหรือไตวา ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงมักเกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางพันธุกรรม โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากการมีน้ำหนักมากร่างกายก็ยิ่งต้องการเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น การใช้ชีวิตอยู่ประจำ ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าหัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการหดตัวแต่ละครั้ง การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เพิ่มความดันโลหิตชั่วคราวในทันที แต่สารเคมีที่พบในยาสูบสามารถทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหายได้ ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบ แคบและมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควันบุหรี่มือสองจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากยิ่งขึ้นการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำลายหัวใจได้เมื่อเวลาผ่านไปและอายุเพิ่มมากขึ้นการที่ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่งแก้วและผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวันอาจเป็นอีกสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงระดับความดันโลหิตสูงและอาการความดันสูงเฉียบพลันขึ้นมักก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามไปด้วย ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีดังต่อไปนี้

ในระหว่างการนัดหมายแต่ละครั้ง แพทย์จะอ่านค่าความดันโลหิตสองถึงสามครั้งก่อนที่แพทย์จะเริ่มกระบวนการวินิจฉัย เนื่องจากความดันโลหิตโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตลอดทั้งวัน แพทย์อาจให้ผู้ป่วยบันทึกความดันโลหิตที่บ้านเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์ของครอบครัวก่อนตรวจสอบผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกาย แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการทดสอบ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ การตรวจเลือด และการตรวจคอเลสเตอรอล บางครั้งแพทย์จะสั่งให้ทำ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจหาสัญญาณของโรคหัวใจ
หากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย ไม่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อลดความดันโลหิตต่อไป ทั้งนี้เป้าหมายของการรักษามุ่งเน้นที่การรักษาระดับความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มม. สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีความเสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 10 ที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดภายในสิบปี รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงซึ่งต้องใช้ยา 4 ชนิดในการรักษาหมายความว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงที่ดื้อยา ดังนั้นแพทย์จะตรวจสอบอีกครั้งถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงอื่นๆ ทั้งนี้ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ดื้อยาไม่ได้หมายความว่าจะมีภาวะความดันโลหิตสูงเสมอไป แพทย์จะตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง และหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับประทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตามคำสั่งของแพทย์ อย่าเปลี่ยนวิธีการรักษาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์โดยเด็ดขาดห้ามสูบบุหรี่ พยายามจัดการหรือลดความเครียด ติดตามความดันโลหิตที่บ้าน รักษาระดับความดันโลหิตในช่วงตั้งครรภ์ เตรียมความพร้อมสำหรับการนัดหมายแพทย์ การนัดหมายของแพทย์ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวหรือคำแนะนำพิเศษ แต่ผู้ป่วยไม่ควรบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือสูบบุหรี่ก่อนการตรวจ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ป่วย จดบันทึกอาการใด ๆ ที่กำลังประสบอยู่ และแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการอื่น ๆ เช่น อาการเจ็บหน้าอกหรือหายใจถี่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยให้แพทย์ทราบถึงความรุนแรงของปัญหาความดันโลหิตสูง

ระบุข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงประวัติทางการแพทย์ของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตหรือโรคเบาหวาน นอกจากนี้ผู้ป่วยควรจดบันทึกความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงชีวิตล่าสุดที่อาจทำให้เกิดการกระตุ้น แสดงรายการยา วิตามิน หรืออาหารเสริมทั้งหมดที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ มาตามนัดของแพทย์พร้อมกับเพื่อนหรือญาติ จดบันทึกรูปแบบการรับประทานอาหารหรือการออกกำลังกายและเตรียมปรึกษากับแพทย์ จดคำถามที่ต้องการถามแพทย์ คำถามที่อาจถามแพทย์ ต้องได้รับการทดสอบประเภทใดบ้าง ต้องทานยาอะไรหรือไม่ มีอาหารประเภทใดบ้างที่ควรต้องหลีกเลี่ยง ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสม ต้องนัดพบแพทย์เพื่อตรวจความดันโลหิตบ่อยแค่ไหน จำเป็นต้องตรวจสอบความดันโลหิตที่บ้านหรือไม่ ภาวะสุขภาพอื่น ๆ และการจัดการความดันโลหิตสูง มีข้อจำกัดใด ๆ หรือไม่ แพทย์อาจถามคำถามดังต่อไปนี้ สมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของคุณในปัจจุบัน พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ของคุณ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคุณ การตรวจความดันโลหิตครั้งล่าสุด และผลของการตรวจสอบ
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy