โรคซาร์ส

Syndrome Coronavirus หรือ โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ที่สามารถพบการติดเชื้อได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้ใหญ่ และมีอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ30 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2557) ความสำคัญของการพบโรคนี้ก็คือ นอกจากอัตราการเสียชีวิตที่สูงแล้ว ยังพบการแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยเฉพาะบุคคลที่อาศัยภายในบ้านเดียวกันนั่นเอง อาการที่สังเกตได้คือ มักพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการรุนแรงแล้ว ซึ่งผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ในรายที่อาการรุนแรงพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของกลุ่มอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่าง รุนแรง คือมีอาการหอบเหนื่อยตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน แนวทางการรักษา เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้ข้อมูลการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง จนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติดี สำหรับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะเรายังไม่มียาที่ใช้ทำลายเชื้อนี้ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการไข้สูง ไอ หอบ หายใจเร็ว ก็ควรให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปาก-จมูก และมาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์ ส่วนผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นรักษาความสะอาดมือ ทั้งผู้ป่วยเองและคนรอบข้างกันด้วย.
SARS คือโรคอะไร? ป้องกันได้ไหม? อาการติดเชื้อเป็นอย่างไร? กรณีที่มีรายงานข่าวในประเทศจีนว่า พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสจำนวน 44 ราย จากเมืองอู่ฮั่น และมีรายงานผู้เสียชีวิตรายแรกแล้วนั้น ในขั้นต้นอยู่ระหว่างการสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อในกลุ่มเดียวกับโรคซาร์ส เภเลยมาสรุปก่อนเพื่อเตือนไม่ให้ตะหนก#โรคซาร์สคือโรคอะไร? #ซาร์ส หรือ #SARS ย่อมาจาก Severe acute respiratory distress syndrome หรือบางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง, โรคปอดอักเสบผิดแบบฉบับ, ปอดอักเสบนอกแบบ, ไข้หวัดมรณะ, ไข้ไวรัสมรณะ หรือ ปอดบวมมรณะ คือ โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใหม่ โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้สูง #โรคซาร์สมาจากไหน? มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส (Coronavirus) เดิมพบการติดเชื้อนี้ได้เฉพาะในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก แต่ต่อมามีการกลายพันธุ์ เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ขึ้น สำหรับประเทศไทย แม้ขณะนี้จะมีชาวต่างชาติเข้ามาเสียชีวิตด้วยโรคหวัดมรณะ แต่ก็เป็นการติดเชื้อมาจากต่างประเทศ ซึ่งยืนยันได้ว่า ยังไม่มีการแพร่กระจายเชื้อในประเทศไทยการดูแลรักษาตัวเราให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ หากท่านหรือบุคคลในครอบครัวเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสขนิดนี้ โปรดเก็บตัวอยู่ภายในบ้าน 14 วัน หลีกเลี่ยงการคลุกคลี หรือสัมผัสใกล้ชิดบุคคลในครอบครัว และควรรักษาความสะอาด โดยล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % เช็ดทำความสะอาด (หากท่านมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว และแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการเดินทางด้วย)โควิดระบาดครั้งนี้ทำให้ใครหลายคนนึกถึงโรคหนึ่งที่เคยระบาดหนักมาแล้วเมื่อ 20 ปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกันและมีจุดเริ่มต้น ที่ประเทศจีนเหมือนกัน นั่นคือโรคซาร์ส โรคซาร์สเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS Coronavirus (SARS CoV) เปรียบได้กับไวรัสตัวพี่ของโคโรนา ส่วนโควิดเป็นไวนัสตัวน้องที่ชื่อว่า SAR CoV-2 ชื่อ SARS ย่อมาจาก Severe Acute Respiratory Syndrome ผู้ได้รับเชื้อไวรัส SARS CoV จะมีอาการรุนแรงและเชื้อลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าไปทำลายระบบทางเดินหายใจและทำให้ปอดบวมได้ในเวลาเพียงไม่ถึง 10 วัน นอกจากนี้เชื้อไวรัส SARS_CoV ยังเข้าไปสู่ระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย หากยังจำกันได้การระบาดของโรคซาร์สมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อาการของซาร์สเร็วและรุนแรงจนตั้งรับไม่ทัน
ผู้ป่วยโรคซาร์สอาการวันแรกจะเหมือนคนเป็นหวัด มีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว ไข้ขึ้นสูง หลังจากนั้นไม่กี่วันจะมีอาการรุนแรงอย่างเฉียบพลัน เจ็บคอมาก และไอหนัก หายใจลำบากขึ้นเนื่องจากปอดเริ่มติดเชื้อ ปอดเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เชื้อไวรัสจู่โจมและเข้าไปฝังตัวอยู่ในเซลล์ปอด เชื้อไวรัสมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและทำลายเซลล์ เกิดอาการปอดบวม เท่านั้นยังไม่พอเชื้อไวรัส SARS CoV ยังเข้าไปสู่ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร ท้องเสีย และเข้าไปสู่ไต ผู้ป่วยจะซูบซีด อาการทรุดลงไปอีก เชื้อไวรัสที่เข้าสู่เส้นเลือดจะทำให้เลือดขาดออกซิเจน อาจถึงแก่ชีวิตถ้ารักษาไม่ทัน
การระบาดของซาร์สน่ากลัวไม่แพ้โควิด เชื้อไวรัส SARS CoV สามารถแพร่กระจายโดย การสัมผัสผู้ป่วยและใช้สิ่งของร่วมกัน การได้รับฝอยละอองที่มีสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ทั้งสองทางนี้ทำให้คนเราต้องระมัดระวังตัวด้วยการรักษาระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ วิธีรักษาโรคซาร์ส จากวิกฤตโรคซาร์สระบาดครั้งนั้น การรักษาผู้ป่วยไม่ถือว่าได้ผล 100% สำหรับผู้ป่วยทุกราย เฉพาะคนที่มีร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานสูงเท่านั้นที่รักษาหายและฟื้นตัวเร็ว ด้วยการใช้ยารักษาตามอาการต่อไปนี้ไปจนค่อย ๆ ดีขึ้น ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยยาปฏิชีวนะ, ยา Ribavirin และยา Oseltamivir ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุดเพื่อสกัดกั้นการลุกลามเข้าสู่ปอด ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อและแพร่กระจายไปในระบบทางเดินหายใจจนกระทั่งปอดอักเสบ แพทย์จะใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการโดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและอาจทำให้ออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยลดลง จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาภายในห้องความดันลบ ถูกแยกตัวออกจาผู้ป่วยอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไป

ส่วนผู้ป่วยบางรายที่ร่างกายไม่แข็งแรง เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงเกิดขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคเบาหวาน ยากที่จะฟื้นตัว และบางรายก็ไม่สามารถรักษาหายได้จนกระทั่งเสียชีวิตจากการเป็นโรคปอดบวมตามมา จึงขอย้ำอีกครั้งไม่ว่าโลกของเราจะต้องเผชิญกับไวรัสชนิดใดและมีความร้ายแรงมากหรือน้อยก็ตาม การป้องกันเชื้อโรคด้วยวิธีรักษาสุขอนามัย รักษาระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ชำระล้างร่างกายให้สะอาด และสวมหน้ากากอนามัย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคซาร์ส ; SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) เกิดการระบาดครั้งแรกในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีนประมาณปลายปี พ.ศ. 2545 โดยพบผู้ป่วยปอดบวม ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ ต่อมาเกิดการระบาดของโรคปอดบวมในเวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์ แคนาดา จากการสอบสวนทางระบาดวิทยาสามารถเชื่อมโยงได้ว่า มาจากแพทย์ท่านหนึ่งที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในมณฑลกวางตุ้ง ได้เดินทางมาฮ่องกง ขณะมีอาการไข้ และเข้าพักที่โรงแรมก่อนจะถูกนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตต่อมา ปรากฏว่าคนในโรงแรมหลายคนติดเชื้อ และนำเชื้อกลับไปยังประเทศของตนหรือเมืองที่ตนเดินทางต่อไป ัตราป่วยตายร้อยละ 9. 6สถานการณ์โรคในประเทศไทย แพทย์ชาวอิตาลีที่ไปสอบสวนโรคดังกล่าวที่กรุงฮานอยแล้วมีอาการป่วย ในขณะที่กำลังเดินทางมาประเทศไทย ไม่พบว่ามีการติดเชื้อในกลุ่มแพทย์พยาบาล ที่ทำการดูแลรักษาพยาบาล และยังไม่พบการแพร่ระบาดในชุมชน อาการของโรค : ครั่นเนื้อ ครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อและไข้ต่อมาเกิดอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างรวดเร็วซึ่งมีทั้งไอและหายใจลำบาก อาจจะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย อาการอาจจะทรุดลงหลายวันสอดคล้องกับที่ไวรัสในเลือดขึ้นสูงหลังจากแสดงอาการได้ 10 วัน
การวินิจฉัยโรค : อาศัยทั้งลักษณะอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมกัน ตัวอย่างระบบทางเดินหายใจที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ ตัวอย่างจากคอหอย (Nasopharyngeal aspiration) และอุจจาระซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการตรวจเชื้อไวรัส โดยตรวจหาneucleic acid ด้วยวิธี RT-PCR หรือ วิธีแยกเชื้อไวรัสในช่วงสัปดาห์แรก หรือสัปดาห์ที่สองของการป่วย ระหว่างการเกิดการระบาดของโรคซาร์ส ความไวของวิธี RT-PCRจะอยู่ประมาณร้อยละ 70 ในตัวอย่างที่เก็บช่วงวันแรกๆของการป่วย วิธี PCR ที่ยืนยันให้ผลบวก สำหรับโรคซาร์สต้องใช้ตัวอย่างอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง เช่น ตัวอย่างจากคอหอยและอุจจาระ หรือเก็บตัวอย่างเดียวกัน ในช่วงที่ป่วย 2 วัน หรือมากกว่า 2 วัน เช่น เก็บตัวอย่างจากคอหอยทดสอบ 2 ครั้ง หรือมากกว่า หรือทดสอบด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 2 วิธี หรือ การทดสอบด้วยวิธี PCR ซํ้า โดยใช้ตัวอย่างสกัดใหม่จากตัวอย่างที่เก็บมาในการทดสอบแต่ละครั้ง ตัวอย่างนํ้าเหลืองในช่วง ระยะเฉียบพลัน หรือระยะฟื้นตัวจากการป่วยควรเก็บห่างกันอย่างน้อย 8 วันสำหรับการตรวจทางนํ้าเหลืองวิทยา เช่น การตรวจด้วยวิธี IFA, ELIZA, Western blots และ neutralization tests ELIZA, IFA ต้องมี acute serum เป็นลบ แล้วมี convalescent serum เป็นบวก หรือเพิ่ม 4 เท่า หรือมากกว่าการมี antibody rise การแยกเชื้อไวรัส สามารถทำการเพาะเชื้อจากตัวอย่างใดๆ ก็ได้ รวมทั้งการยืนยันผลจาก PCR
การรักษา : เมื่อรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลการสั่งยารักษา ให้สั่งยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อ community-acquired pneumonia จนกว่าจะวินิจฉัย แยกโรค Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS ได้ การใช้ยาไรบาวิริน (Ribavirin) ตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับสเตียรอยด์ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพที่ชัดเจน แต่พบว่ามีผลข้างเคียงมาก จึงเสนอให้มีการร่วมมือกันจากหลายหน่วยงานเพื่อทดสอบยาตัวนี้ ตลอดจนการหาวิธีอื่นในการรักษาโรคนี้
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy