ramahealthy

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ทางการแพทย์ หมายถึง ภาวะและหรืออาการซึมเศร้า ที่มีมากกว่าอารมณ์โศกเศร้า และเป็นเรื้อรังสภาพแบบหนึ่งที่พบได้ในหลาย ๆ โรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคทางอารมณ์จิตใจ คือ โรคซึมเศร้า และ โรคไบโพลาร์ โรคทางอายุรกรรมบางโรค สารยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าที่รุนแรงได้

โรคซึมเศร้า

อาการของโรคซึมเศร้า ถือ เป็นโรคที่แสดงอาการด้านจิตเวช ที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ ปัจจัยทาง “ชีวภาพ” หรือ “พันธุกรรม” และ ปัจจัยด้านความรู้สึกด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง หรือความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่สำคัญ

ส่วนปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าปัจจัยทางอารมณ์ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่น หากเป็นภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กอาจมีสาเหตุจากความตึงเครียดในครอบครัว เหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ภาวะซึมเศร้าในโรคประสาทซึ่งอาจพบร่องรอยว่าถูกบีบคั้นอย่างมากในวัยเด็ก แล้วปะทุออกมาในช่วงชีวิตภายหลัง ภาวะซึมเศร้าเพราะความชราเกิดเพราะความสามารถในการปรับตัวลดน้อยลง มีชีวิตโดดเดี่ยว ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย หรือปัญหาที่เรียกกันว่าภาวะสะเทือนใจหลังเกษียณ (สูญเสียคุณค่าในตน ไม่มีงาน มีความรู้สึกว่าไร้สมรรถภาพ)

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงภาวะซึมเศร้าจากปฏิกิริยาทางใจ เช่น อาการซึมเศร้าหลังจากคู่แต่งงานเสียชีวิต ตกงาน หย่าร้าง ภาวะซึมเศร้าเพราะสภาพจิตใจอ่อนล้า เป็นการตอบสนอง ทางใจต่อสภาวะความเครียดเรื้อรัง เช่น ชีวิตสมรสมีปัญหาขัดแย้งไม่รู้จบ ความกดดันจากงานที่ต้องรับผิดชอบ การเปลี่ยนงาน ภาระมากเกินไป ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้มักเกิดในหญิงซึ่งต้องรับภาระทั้งในครอบครัวและทำงานนอกบ้าน และในชายที่อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี ซึ่งถูกกดดันจากการไม่อาจขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพการงานของตนได้

สังเกตอาการ

เมื่อคนใกล้เคียงคนในครอบครัว หรือ ใกล้บุคคลใกล้ชิดเข้าข่ายซึมเศร้า หลักการสังเกตง่าย ๆ มีดังต่อไปนี้

  1. พฤติกรรม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิด คือมีความคิดไปในทาง ลง หรือความคิดด้านลบตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะรู้สึกสิ้นหวังไม่อยากทำไร เหมือกับชีวิตนี้ไม่มีความสุข มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่าไม่มีความหมาย และคิดว่าไม่มีทางเยียวยาได้ ในที่สุดก็จะคิดทำร้ายตัวเอง คิดถึงแต่เรื่องความตาย และพยายามที่จะฆ่าตัวตาย
  2. การกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรู้ค่านิยมรอบตัวที่ส่งผลกระทบต่อจิตรใจ หรือการทำงาน ไม่สนใจสภาพแวดล้อม ไม่มีความสนุก หรือกิจกรรมเพิ่มความสนุก รวมถึงกิจกรรมทางเพศ รู้สึกอ่อนล้าอ่อนเพลีย ทำงานช้าลง การตัดสินใจแย่ลง
  3. การกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรู้ค่านิยมรอบตัว คือ มักมีความรู้สึกโศกเศร้า กังวลอยู่เป็นระยะ มักหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย อยู่ไม่เป็นสุข กระวนกระวาย เป็นต้น
  4. การกระทำที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป บางคนเบื่ออาหารไม่อยากอาหารจนทำให้น้ำหนักลด

หากพบว่า มีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 4 ข้อ ต้องพยายามระมัดระวังความคิด และพยายามดึงตัวเองออกมาจากภาวะนั้นให้ได้ พยายามเตือนตัวเองให้มีสติอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ที่ทำให้รู้สึกไม่ดีหรือเปล่า หากรู้ตัวว่าไม่สามารถหยุดความคิดได้ หรือยิ่งรู้สึกสิ้นหวังแบบรุนแรงจนรู้สึกหมดซึ่งหนทางที่อยากจะใช้ชีวิตต่อไป ต้องรวบรวมกำลังใจเพื่อให้โอกาสตัวเอง โดยการหาทางระบายความคิดและความรู้สึกของตัวเองออกมา แต่การให้โอกาสที่ดีกับตัวเองต้องพยายามเปิดใจหาผู้ที่ท่านมั่นใจว่าช่วยเหลือท่านได้จริงๆ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อความปลอดภัยจากภาวะซึมเศร้าที่เป็นอยู่ ณ ขณะนั้นให้ได้
รักษา

การรักษาโรคซึมเศร้า มีทั้งรักษาด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งในบางคนอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  1. รักษาด้วยจิตบำบัด เป็น วการรักษา ด้วยการพูดคุย ทำกิจกรรม หาสิ่งที่ผู้ป่สยชื่นชอบหรือถนัดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น การรักษาแบบนี้เป็นวิธีหนึ่ง การทำจิตบำบัดมีหลายแบบ ได้แก่ จิตบำบัดประคับประคอง
  2. การรักษาสมองของ ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าจะมีการปล่อยและรับเคมีที่ผิดไปจากเดิม จะรักษาด้วย dTMS เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นสมองในตำแหน่งที่ต้องการ คล้ายการกระตุ้นของยา
  3. การรักษาด้วยยา การใช้ยารักษาจะส่งผลหรืออาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ