ramahealthy

โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา

โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดราเป็นโรคที่รุนแรงในคนและสัตว์แต่พบได้ไม่บ่อยนัก เชื้อไวรัสเฮนดราทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของสัตว์โดยเฉพาะม้า อาการที่พบ ได้แก่ มีไข้ ซึม หายใจลำบาก และตาย ชื่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้มาจากชื่อเมืองในประเทศออสเตรเลียที่มีรายงานการพบเชื้อเป็นครั้งแรกม้าและค้างคาวกินผลไม้เป็นสัตว์สองชนิดที่ติดเชื้อไวรัสเฮนดราตามธรรมชาติ ส่วนแมวและหนูตะเภาสามารถติดเชื้อได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่สุนัข หนู กระต่าย ไก่จะไม่เป็นโรคหลังได้รับเชื้อไม่ทราบแน่ชัดว่าสัตว์ติดติดเชื้อไวรัสเฮนดราได้อย่างไร แต่เชื่อว่าม้าติดเชื้อจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อซึ่งส่วนใหญ่คือ ค้างคาวกินผลไม้ เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่ติดเชื้อค้างคาวกินผลไม้เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเฮนดราแต่จะไม่แสดงอาการป่วย อาการที่พบในม้า ได้แก่ มีไข้ กินอาหารไม่ได้ ซึม เหงื่อไหล ควบคุมการทรงตัวไม่ได้ กระวนกระวาย อาจมีอาการหายใจลำบาก ม้าอาจตายได้หลังจากเริ่มแสดงอาการแล้ว 1-3 วัน คนติดโรคติดเชื้อไวรัสเฮนดราได้หรือไม่ คนติดเชื้อไวรัสเฮนดร้าได้ มีรายงานการติดเชื้อไวรัสเฮนดร้าในคนที่ทำงานใกล้ชิดกับม้าที่ป่วย อาการในคนมีลักษณะคล้ายเป็นไข้หวัด คือ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการทางระบบหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ พบผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีการติดเชื้อเข้าสู่สมองและเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อแล้วหนึ่งปีปัจจุบันมีการพบไวรัสเฮนดร้าในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ยังมีค่อนข้างจำกัด แนวทางการป้องกันโรคในสัตว์จึงกำหนดได้ค่อนข้างยาก วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง และป้องกันค้างคาวกินผลไม้ไม่ให้นำเชื้อไวรัสมาปนเปื้อนในอาหารม้า

จากรายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเฮนดร้า พบว่าคนที่ติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดอย่างมากกับม้าที่ป่วย เมื่อต้องทำงานกับม้าป่วยควรมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การสวมถุงมือยาง ล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ จากร่างกายของม้า เช่น เลือด น้ำลาย ปัสสาวะ และน้ำมูก

ลักษณะโรค : เป็นไวรัสที่ก่อโรคในสัตว์ ไวรัสนิปาห์ก่อโรคไข้สมองอักเสบเป็นหลัก ในขณะที่ไวรัสเฮนดราก่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่รุนแรง ลักษณะเชื้อไวรัสเฮนดรา และไวรัสนิปาห์ อยู่ในสกุล Henipaviruses วงศ์ Paramyxoviridae มีจีโนม RNA ลักษณะเป็นสายเดี่ยว (single-stranded, nonsegmented, negative-sense RNA genome) ล้อมรอบด้วยโปรตีน ไวรัสนิปาห์ มีขนาดตั้งแต่ 120 – 500 นาโนเมตรและไวรัสเฮนดรามีขนาดตั้งแต่ 40 – 600 นาโนเมตร

ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2542 ผู้ป่วยรายแรกพบที่ รัฐเปรัก เมืองคินตา เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปี อาชีพขายเนื้อสุกร และผู้ป่วยรายสุดท้ายอยู่ที่เมืองสุไหงบูโละ รัฐเซลังงอ เป็นคนงานในโรงเลื่อยไม้ เพศชายอายุ 29 ปี พบผู้ป่วยทั้งหมด 265 รายตาย 105 ราย โดยมีการระบาดอยู่ใน 3 รัฐ ได้แก่รัฐเปรักที่เมืองคินตา รัฐเนเกริเซมบิลัน มีการระบาด 2 แห่งที่เมืองซิกามัต และที่เมืองบูกิต เปลันดอค รัฐเซลังงอที่เมืองสุไหงบูโละ ในประเทศสิงคโปร์ โรคนี้ระบาดระหว่างวันที่ 13 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2542 พบผู้ป่วย 11 ราย ตาย 1 ราย สาเหตุจากการนำเข้าสุกรจากประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2542

หลังจากนั้นก็มีการระบาดอีกหลายครั้งในประเทศอินเดีย ที่เมืองซิริกูลิในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544โดยมีผู้ป่วย 66 ราย เสียชีวิต 45 ราย และมีการระบาดในประเทศบังคลาเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 – 2550 การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในประเทศบังคลาเทศมีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ การสัมผัสกับโคป่วยการบริโภคผลนํ้าจากผลปาล์มสดที่ปนเปื้อนนํ้าลายของค้างคาวแม่ไก่ ซึ่งเป็นค้างคาวจำพวก ที่กินผลไม้ และมีการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งสาเหตุของการระบาดที่มาเลเซียเกิดจากเชื้อไวรัสนิปาห์ สายพันธุ์เดียว ซึ่งแตกต่างจากการระบาดที่บังคลาเทศซึ่งเกิดจากหลายสายพันธุ์ทำให้มีลักษณะอาการ ทางคลินิกแตกต่างกัน

บางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยพบว่า ค้างคาวแม่ไก่ ร้อยละ 7 มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนิปาห์ และพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนิปาห์ในนํ้าลายและปัสสาวะของค้างคาวแม่ไก่ด้วย ดังนั้นพื้นที่เสี่ยงทางภาคใต้ จึงควรเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและป้องกันไม่ให้โรคแพร่มายังสัตว์เลี้ยงตามมาตรการของกรมปศุสัตว์ที่ก่อโรคในสัตว์ เช่นเดียวกับเชื้อไวรัสลางยาเฮนิปาห์ หรือเลย์วี ที่เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ ในประเทศจีน พบผู้ติดเชื้อในมณฑลซานตง และเหอหนานแล้วอย่างน้อยแล้ว 35 คน ไวรัสไวรัสนิปาห์ ส่วนใหญ่ติดได้จากการสัมผัสหมูที่ติดเชื้อโดยตรง ก่อโรคไข้สมองอักเสบเป็นหลัก ด้านไวรัสเฮนดราส่วนใหญ่ติดได้จากการสัมผัสม้าที่ติดเชื้อโดยตรง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ติดเชื้อ ก่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไม่รุนแรงลักษณะของทั้งสองไวรัสอยู่ในสกุล Henipaviruses วงศ์ Paramyxoviridae มีจีโนม RNA ลักษณะเป็นสายเดี่ยว (single-stranded, nonses-mented, negative-sense RNA genome) โดยทั้ง 2 ชนิดเป็นโรคติดต่ออันตรายของไทย ตาม พรบ.โรคติดต่อพ.ศ. 2558 ด้วย

อาการของโรคในผู้ป่วย ระยะฟัก ตัวของโรคประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการในผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นอาการของโรคไข้สมองอักเสบ มีรายงานเพียง 2 ราย ที่มีอาการทางระบบหายใจ อาการเริ่มด้วยไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นอยู่ 3-14 วัน ตามด้วยอาการซึม-สับสน ชักโคมาและเสียชีวิต อัตราป่วยตายด้วยโรคนี้ในคนประมาณร้อยละ 40 และพบว่าในคนมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการได้จากสุกรไปยังสุนัขและแมวพบว่า การแพร่เชื้อไวรัสนิปาห์จากสุกรป่วยไปยังสุนัขหรือแมวเกิดขึ้นจากการกินซาก ของสัตว์ป่วยตาย หรือกินวัสดุที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสปนเปื้อนมากับสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ ป่วย เช่น ปัสสาวะ เป็นต้น จากสุกรไปคน จากประวัติของผู้ป่วยด้วยโรคสมองอักเสบในประเทศมาเลเซีย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนงานในฟาร์มเลี้ยงสุกร และบางส่วนเป็นคนงานโรงฆ่าสุกร ผู้ป่วยทุกคนมีประวัติสัมผัสโดยตรงกับสุกรมีชีวิต ไม่มีรายงานการป่วยในกลุ่มบุคคลต่อไปนี้ ผู้บริโภคเนื้อสุกร แพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาผู้ป่วย และยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง จากฟาร์มสุกรหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเคลื่อนย้ายสุกรป่วยหรือนำโรค โดยพ่อค้าคนกลางที่ไปขอรับซื้อสุกรจากฟาร์มการวินิจฉัยโรค ในการตรวจวินิจฉัยโรคสมองอักเสบนิปาห์สามารถดำเนินการได้ 2 ลักษณะได้ 2 ลักษณะ คือ ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่พบว่าสามารถแยกหาเชื้อไวรัสได้ คือ ปอด ทอนซิล ไต เลือด น้ำไขสันหลังของผู้ป่วย การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนิปาห์จากซีรั่ม

สวมกางเกงขายาว เสื้อแขนยาวสวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ใส่แว่นตา ปิดผ้ากันจมูกในเวลาทำงาน ชำระล้างเครื่องใช้เครื่องแต่งกายด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน ไอโอดีน เดทตอลหรือเซพลอน หลังใช้แล้วทุกครั้ง ทำความสะอาดมือด้วยสบู่หลังจากเสร็จการชำแหละหรือหลังจากการสัมผัส ซากสัตว์ ถ้าพบสัตว์ป่วยด้วยกลุ่มอาการไข้สมองอักเสบ ให้ทำลายสัตว์ป่วย สัตว์ร่วมฝูง แล้วทำลายซากโดยการเผาหรือฝัง ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลในโรงฆ่าสัตว์ และคอกสัตว์ ห้ามเคลื่อนย้ายสุกร ม้า ที่มีชีวิตและซากเข้าออกจากจุดเกิดโรคในรัศมี 2 กิโลเมตร เฝ้าระวังติดตามความผิดปกติหรือการเกิดโรคในสัตว์ โดยเฉพาะสุกรที่อยู่ในเขตติดต่อกับจุดเกิดโรคคนเลี้ยงสุกรในฟาร์ม คนขนส่งสุกรมีชีวิต คนงานโรคฆ่าสัตว์ ให้ใช้หลักสุขาภิบาลทั่วไป เช่น ประชาชนทั่วไป ใช้หลักสุขาภิบาลทั่วไป โดยเน้นที่การล้างมือทุกครั้งด้วยสบู่เมื่อสัมผัสกับสัตว์ เนื้อสัตว์ ซากสัตว์ และห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ดิบๆ สุกๆ

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ