ramahealthy

โรคติดเชื้อ ไวรัสมาร์บวร์ก

ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกสถานการณ์โรคในประเทศไทย : โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่งอัตราการแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็อาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เชื้ออาจมาจากพื้นที่ระบาดของโรคเข้ามาในประเทศมาได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม

จากอวัยวะ การวินิจฉัยมักจะเป็นการตรวจผสมผสานระหว่างการตรวจหาแอนติเจนหรือ RNA ร่วมกับหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG (การตรวจพบแอนติบอดี IgMแสดงให้เห็นว่าเพิ่งพบการติดเชื้อไม่นานมานี้) การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ หรือการเลี้ยงในหนูตะเภาต้องทำให้ในห้องทดลองที่มีการป้องกันอันตรายระดับสูงสุด (BSL-4) การตรวจด้วยวิธี ELISA จะใช้เพื่อตรวจหาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgG ในนํ้าเหลือง (serum) ของผู้ป่วย

มาตรการป้องกันโรค : ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับทั้งไวรัสอีโบลาหรือมาร์บูร์กควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิระทรวงสาธารณสุขจับตา “ไวรัสมาร์บวร์ก” โรคใหม่ที่อุบัติขึ้นในประเทศอิเควทอเรียลกินี ทวีปแอฟริกาตะวันตก คร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 9 ศพ มีอัตราการป่วยเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 88 

หากประชาชนพบผู้ที่สงสัยโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก ให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422หลังจากซาร์ส อีโบลา โควิด 19 ขณะนี้โลกต้องจับตาเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตัวฉกาจอีกครั้ง โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก โรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงสูงที่ประเทศไทยกำหนดให้เป็น 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีอัตราการป่วยเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 88 เลยทีเดียว ดังนั้นมาทำความรู้จัก โรคไวรัสมาร์บวร์ก เพื่อระวังและป้องกันตัวเองอย่างไม่ตื่นตระหนกไวรัสมาร์บวร์กมีอาการอย่างไร? โรคไวรัสมาร์บวร์กมีระยะฟักตัว 2-21 วัน อาการจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะมาก ประมาณวันที่ห้าหลังจากเริ่มแสดงอาการอาจมีผื่นนูนแดงตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเสีย อาการอาจรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงภาวะดีซ่าน มีการอักเสบของตับอ่อน น้ำหนักลดอย่างรุนแรง มีเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ตับวาย ช็อก อวัยวะหลายส่วนทำงานผิดปกติ สาเหตุการเกิดโรคไวรัสมาร์บวร์กคืออะไร? โรคไวรัสมาร์บวร์กเกิดจากไวรัสมาร์บวร์กและไวรัสแรเวิน ซึ่งเป็นไวรัสเฉพาะถิ่นที่พบในป่าแล้งแถบเส้นศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกา การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการไปถ้ำที่เป็นถิ่นอาศัยของค้างคาวที่เป็นพาหะโรคปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อโรคไวรัสมาร์บวร์กเนื่องจากโรคไวรัสมาร์บวร์กมีลักษณะคล้ายโรคไวรัสอีโบลา ไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จึงค่อนข้างยากที่แยกโรคได้ ดังนั้นการวินิจฉัยที่สำคัญคือการซักประวัติผู้ป่วย เช่น ประวัติการเดินทาง การทำงาน การสัมผัสสัตว์ป่า และการยืนยันโรคไวรัสมาร์บวร์กทำได้ด้วยการแยกไวรัส หรือส่งเลือดตรวจหาแอนติเจนหรือ RNA ของไวรัส การรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์ก

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสมาร์บวร์ก ดังนั้นการป้องกันหลักๆ อยู่ที่การแยกผู้ป่วยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงเลี่ยงการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg) คร่าชีวิตชาย 2 คนในประเทศกานา ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่พบการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงนี้ในประเทศกานา โดยที่ผ่านมาไวรัสมาบวร์ก ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสอีโบลา (Ebola) เคยเกิดการระบาดประปรายเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่พบในประเทศแถบแอฟริกากลางและใต้ ก่อนที่จะมีการยืนยันผู้เสียชีวิตรายแรกและรายเดียวในแอฟริกาตะวันตกที่ประเทศกินี เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 จนกระทั่งมาถึงกรณีการเสียชีวิตล่าสุดในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นอีกครั้งว่าเชื้อไวรัสที่พบในค้างคาวผลไม้ (Fruit Bat) สามารถแพร่สู่มนุษย์ และทำให้เกิดความหวั่นเกรงกันว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดครั้งใหญ่หรือไม่ บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับไวรัสมาร์บวร์กให้มากขึ้น

ไวรัสมาร์บวร์กคืออะไร เป็นไวรัสในตระกูล ฟิโลไวริเดอี (Filoviridae) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกรุนแรงในมนุษย์ ข้อมูลระบุว่า 90% ของผู้ที่ติดเชื้อนี้เสียชีวิต โรคไวรัสมาร์บวร์กถูกพบครั้งแรกในปี 1967 เมื่อเกิดการแพร่ระบาดพร้อมกันในห้องปฏิบัติการทดลองที่เมืองมาร์บวร์กและแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และในเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบีย ซึ่งสืบพบในเวลาต่อมาว่าผู้ติดเชื้อติดเชื้อมาจากลิงเขียว (Green Monkey) ที่นำเข้ามาจากยูกันดาเพื่อการวิจัยและการผลิตวัคซีนโปลิโอ จนกระทั่ง 9 ปีต่อมา พบไวรัสในตระกูลเดียวกันที่เป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดใหญ่ในหมู่บ้านใกล้แม่น้ำอีโบลา ประเทศคองโก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อไวรัสอีโบลา ตั้งแต่นั้นมามีการค้นพบไวรัสอื่นๆ อีกจำนวนมากทั่วโลกที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่มีอาการคล้ายกันในมนุษย์ โดยมีโลกาภิวัตน์ การเดินทางระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่ทำให้ไวรัสแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของโลกอาการของโรคเป็นอย่างไร

หลังระยะฟักตัวประมาณ 2-21 วัน จะเริ่มปรากฏอาการไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง และไม่สบายอย่างหนัก และมักมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อร่วมด้วย ขณะที่อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ปวดท้องและเป็นตะคริว คลื่นไส้และอาเจียนจะเริ่มปรากฏในวันที่ 3 ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการท้องร่วงนานถึง 1 สัปดาห์ มีคำบรรยายลักษณะของผู้ป่วยในระยะนี้ว่า เหมือนผี ตาโหลลึก ใบหน้าไร้อารมณ์ และเซื่องซึม สำหรับการระบาดครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้เมื่อปี 1967 พบผื่นไม่คันในผู้ป่วยส่วนใหญ่ 2-7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ผู้ป่วยจำนวนมากมีเลือดออกรุนแรงหรือตกเลือดในวันที่ 7 โดยผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด รวมทั้งมีเลือดออกทางจมูก เหงือก และช่องคลอด ในระยะเจ็บป่วยรุนแรง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงต่อเนื่อง และอาจเกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกสับสน หงุดหงิด และอารมณ์ก้าวร้าว ขณะที่ในเพศชายอาจพบการอักเสบที่อัณฑะข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างในสัปดาห์ที่ 3 ในกรณีที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังจากเริ่มมีอาการ 8-9 วัน โดยเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากเสียเลือดมากจนช็อก

สามารถวินิจฉัยพบได้อย่างไร หากไม่ส่งตัวอย่างตรวจในห้องแล็บ อาจเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคไวรัสมาร์บวร์ก หรือมาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ โรคบิดชิเกลลา (Shigellosis) และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรืออีโบลา ไข้ลาสซา (Lassa Fever) และโรคเลือดออกจากไวรัสอื่นๆ ตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยถือเป็นชีววัตถุที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงออกคำแนะนำให้ตรวจตัวอย่างหรือสิ่งส่งตรวจภายใต้การควบคุมทางชีวภาพขั้นสูงสุด และขนส่งสิ่งส่งตรวจโดยใช้ระบบบรรจุภัณฑ์สามชั้นโรคนี้เริ่มระบาดได้อย่างไร ค้างคาวผลไม้อียิปต์ (Rousettus Aegyptiacus) ถือเป็นแหล่งเพาะเชื้อหรือพาหะหลักของไวรัสมาร์บวร์ก สำหรับกรณีการติดเชื้อในมนุษย์นั้นเกิดจากการสัมผัสกับเหมืองหรือถ้ำที่เป็นถิ่นอาศัยของค้างคาวเป็นเวลานาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิงและลิงไม่มีหาง (Monkeys and Apes) ก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน การบุกรุกพื้นที่ป่าและสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่า เช่น การบริโภคเนื้อสัตว์ป่า ทำให้ไวรัสมาร์บวร์ก ตลอดจนไวรัสอื่นๆ ในตระกูล Filoviruses แพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ได้ง่ายขึ้น และเมื่อติดเชื้อในคนแล้ว เชื้อโรคสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสผิวหนังที่แตกเป็นแผล หรือเยื่อบุต่างๆ โดยเลือด สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวอื่นๆ ในร่างกายของผู้ติดเชื้อ และด้วยพื้นผิวและวัสดุ เช่น เครื่องนอน และเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนของเหลวเหล่านี้ใครบ้างที่มีความเสี่ยง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคนี้คือ สมาชิกในครอบครัว และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก ซึ่งไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ หรือเจ้า

หน้าที่ศูนย์กักกันที่ดูแลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจากแอฟริกา ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเช่นกัน อีกทั้งพิธีฝังศพที่มีการสัมผัสโดยตรงกับร่างของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคไวรัสมาร์บวร์กก็อาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้เช่นกัน มียารักษาและวัคซีนหรือไม่องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยาต้านไวรัสที่ได้รับการอนุมัติ อย่างไรก็ดี มีแนวทางการรักษาที่อยู่ระหว่างการประเมินอยู่หลายวิธี เช่น ผลิตภัณฑ์จากเลือด ภูมิคุ้มกันบำบัด โมโนโคลนอลแอนติบอดี และยาต้านไวรัส การดูแลแบบประคับประคอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคืนน้ำ (Rehydration) ทางปากหรือทางหลอดเลือดดำ และการรักษาจำเพาะ (Specific Symptoms) สามารถช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต สำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูง (Biomedical Advanced Research and Development Authority) ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมแก่สถาบันวัคซีนซาบิน (Sabin Vaccine Institute) และโครงการริเริ่มวัคซีนต้านโรคเอดส์ระหว่างประเทศ (International AIDS Vaccine Initiative: IAVI) ในนิวยอร์ก เพื่อเดินหน้าการทดลองวัคซีนทางคลินิกในระยะกลาง

กรณีการระบาดที่พบล่าสุดได้รับการจัดการอย่างไร ทั้งสองกรณีเกิดขึ้นในภูมิภาคอาชานติของกานา ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการผลิตทองคำและโกโก้ รายแรกเป็นชายอายุ 26 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และเสียชีวิตในวันต่อมา คนที่สองเป็นชายอายุ 51 ปี เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเดียวกันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน และเสียชีวิตในวันนั้นเลย WHO ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมว่า WHO สนับสนุนให้หน่วยงานสาธารณสุขร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบ โดย WHO จะส่งผู้เชี่ยวชาญ จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ส่งเสริมการเฝ้าระวัง การตรวจหาเชื้อ ติดตามการสัมผัส ตลอดจนทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและอันตราย และร่วมมือกับทีมรับเหตุฉุกเฉิน แถลงการณ์ของ WHO ระบุด้วยว่า ตามพบตัวผู้สัมผัสได้มากกว่า 90 ราย ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าหน้าที่ พบการติดเชื้อที่ไหนอีกบ้าง นับตั้งแต่พบผู้ป่วยรายแรกๆ ในกลุ่มพนักงานห้องปฏิบัติการในเยอรมนีและเซอร์เบียเมื่อปี 1967 หลังจากนั้นพบการระบาดในซิมบับเว เคนยา คองโก แองโกลา ยูกันดา และกินี กรณีร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเกิดขึ้นที่รัสเซียในปี 1990 จากการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ และอีกกรณีหนึ่งในปี 2008 เป็นผู้หญิงที่เดินทางกลับถึงบ้านที่เนเธอร์แลนด์หลังจากไปเที่ยวชมถ้ำงูไพธอน (Python) ในป่ามารามากาโบ (Maramagambo) ประเทศยูกันดาหลายวันก่อนหน้า

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ