ramahealthy

โรคปวดหลัง

อาการปวดหลัง สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ เพศชายหรือเพศหญิง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง และปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น ส่งผลให้เกิดปัญหากล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก่อนจะแสดง “อาการปวดหลัง” ออกมา ปัจจัยที่ทำให้เกิด “อาการปวดหลัง” มีอะไรบ้าง ที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป ไม่ถูกต้องตามสรีระ ยกของหนัก ถือของหนัก ก้มยกของผิดวิธี การสูบบุหรี่ ภาวะกระดูกพรุนหรือบาง ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลใหห้มอนรองกระดูกสันหลังและก้นกบรับภาระมากกว่าจุดอื่น

ปวดหลังระดับไหน… ควรรีบไปพบแพทย์ แน่นอนว่าโรคเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีอาการปวดในระดับเดียวกัน จึงไม่ควรชะล่าใจ ปล่อยให้ความเจ็บปวดอยู่กับเรานาน จำเป็นต้องสังเกตตัวเราเองว่ามีความเจ็บอยู่ในระดับใด โดยระดับความเจ็บปวดจากอาการปวดหลังนั้น เริ่มตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไปถึงขั้นรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการปวดร้าวลงขา ปวดคล้ายเข็มทิ่ม หรือปวดแบบเสียวแปลบ ที่สำคัญ คือ หากมีอาการปวดนานเรื้อรัง มีอ่อนแรงหรือชา มีไข้ ปวดกลางคืนนอนพักไม่หาย มีปัญหาขับถ่ายผิดปกติร่วม ควรรีบปรึกษาแพทย์ อาจมีการสั่งตรวจเพิ่มเพื่อหาสาเหตุและอาการของโรคอย่างแน่ชัด เช่น การตรวจเอกซเรย์ (X-RAY) การสร้างภาพกระดูกสันหลังด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) เป็นต้น

ปวดหลัง… หายได้ หากรักษาตรงจุด หลังจากที่เราทราบแล้วว่าเรามีอาการอย่างไร ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการการรักษาที่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการปวดที่ไม่รุนแรง อาจแค่รับประทานยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อ หรือการทำกายภาพบำบัด แต่ถ้าอาการปวดเพิ่มมากขึ้นจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลุก, นั่ง, ยืน, เดินลำบาก อาจต้องรักษาโดยการฉีดยาเข้าเส้นประสาทสันหลัง หรือการผ่าตัดแบบแผลเล็ก หลังจากการผ่าตัดต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1-3 วัน ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากทีมแพทย์ที่ชำนาญโดยเฉพาะ เราทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อหลัง เช่น ยกของหนัก แบกของหนัก และควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับรูปร่างของเรา เพราะแม้ว่าปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปไกลแล้วก็ตาม แต่ถ้าเราดูแลตัวเองได้ดี รักษาร่างกายให้พร้อมใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ… แบบนั้นก็ย่อมดีกว่าแน่นอน ปวดหลัง เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาการปวดหลัง ในแต่ละบริเวณก็จะมีสาเหตุของการปวดที่แตกต่างกันไป

ตำแหน่งที่กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกันเรียกว่า ข้อต่อกระดูกสันหลัง มี 2 ข้าง คือซ้ายและขวา ช่วยให้กระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวได้ และระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นจะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นอยู่ ภายในหมอนรองกระดูกมีลักษณะคล้ายเจลลี ซึ่งถ้าหากหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดและส่วนชั้นในเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้ กล้ามเนื้อหลัง ยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลัง โดยมีเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน

การขาดการออกกำลังกาย ในคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ไม่สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้ อ้วน น้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมากทำให้เกิดความเสื่อมได้มากขึ้น นอกจากนี้ไขมันที่พอกพูนบริเวณหน้าท้องอาจทำให้สมดุลของร่างกายเสียไปและเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุได้ โรคบางชนิด เช่น ข้ออักเสบ เนื้องอกบางชนิด การทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องยกของ ใช้แรงผลักหรือดึงซึ่งทำให้กระดูกสันหลังบิด รวมถึงผู้ที่ทำงานอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานานโดยอิริยาบถไม่ถูกต้องก็อาจปวดหลังได้

ท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุการปวดหลังที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงานที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค) หากไม่ได้ใส่ใจกับท่านั่งที่ถูกต้อง มักจะนั่งด้วยท่าทางแบบหลังงอ ไหล่ห่อ และก้มคอเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ การยกของหนักโดยใช้การก้มหลัง น้ำหนักทั้งหมดจะผ่านไปที่กระดูกสันหลังส่วนที่กำลังโค้งมากที่สุดโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่หลังได้ เช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง หรือมะเร็งที่มีการกระจายมายังกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเฉพาะที่หลังเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีอาการปวดหลังร้าวมาที่สะโพกหรือขา อาการปวดขาจะปวดไปตามบริเวณซึ่งถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะความปวดแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางรายอธิบายอาการปวดว่ามีลักษณะแหลมเหมือนโดนมีดแทง บางรายรู้สึกปวดหน่วงและหนักที่ขา หรือบางรายอาจรู้สึกเพียงเหน็บชาคล้ายเวลาที่นั่งทับขานานๆ เท่านั้น

น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ เป้าหมายของการรักษาอาการปวดหลัง คือ เพื่อลดอาการปวด และให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติที่สุด โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหลังและระยะเวลาที่เป็น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งรักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการและพยายามหาวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยที่สุดก่อน โดยทั่วไปการรักษาจะมีอยู่ 2 วิธีหลัก ได้แก่ การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด การรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่ การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และการนอนพัก มักเป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้นในการรักษา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าต้องได้รับการรักษาโดยวิธีอื่น การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยลดความปวดจากการอักเสบและช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้เมื่อผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ หรือเมื่อทำการรักษาโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยหรือข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ