โรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้าไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถป้องกันได้ การป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกสัตว์มีเชื้อกัด และรับวัคซีนเมื่อถูกสัตว์ที่ไม่มั่นใจว่ามีเชื้อกัดทันที หากไม่มั่นใจควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดอาการทางประสาท : กระสับกระส่าย กลัวแสง ไม่ชอบเสียงดัง กระวนกระวาย มีอาการหนาวสั่น กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว อย่างเช่นน้ำ โดยจะมีอาการเกร็ง ทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ
เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว และไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากรับเชื้อ 15 – 60 วัน บางรายอาจน้อยกว่า 10 วัน หรือนานเป็นปี เนื่องจากขณะนี้ไม่มียาที่ใช้ในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเสียชีวิตทุกราย ฉะนั้นการป้องกันโรคจึงสำคัญที่สุด อาการของโรคพิษสุนัขบ้า อาการที่สำคัญ คือ เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการที่พบได้บ่อย คือ คันบริเวณบาดแผลที่ถูกกัดซึ่งแผลอาจหายสนิทไปนานแล้ว ต่อมาลุกลามไปที่อื่นๆ ผู้ป่วยจะเกามากจนเลือดออกซิบๆ และมีอาการกลืนลำบากเพราะกล้ามเนื้อที่ลำคอและกล่องเสียงหดเกร็งตัว อยากดื่มน้ำแต่กลืนไม่ได้ทำให้มีอาการกลัวน้ำ น้ำลายฟูมปาก บ้วนน้ำลายบ่อยกระวนกระวาย ตื่นเต้น ใจคอหงุดหงิด หายใจเร็ว ประสาทสัมผัสจะไวต่อการกระตุ้น ทำให้ตกใจง่ายและสะดุ้งผวาเมื่อถูกลม หรือได้ยินเสียงดัง กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งกระตุก ระยะหลังจะเป็นอัมพาตหมดสติและเสียชีวิตภายใน 2-7 วัน นับจากเริ่มแสดงอาการ

วิธีสังเกตสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคกลัวน้ำ ระยะแรกสัตว์จะมีนิสัยผิดไปจากเดิม ต่อมาจะมีอาการตื่นเต้น ตกใจง่าย กระวนกระวาย กระโดดงับลม หรือแมลง กินของแปลกๆ เช่น เศษไม้ หิน ดิน ทราย กัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า กินอาหารได้น้อยลง ม่านตาเบิกขยาย และไวต่อแสงและเสียง ระยะสุดท้ายสัตว์จะมีอาการอัมพาต ทำให้เสียงเห่าหอนผิดปกติ หลังแข็ง หางตก ลิ้นห้อย โดยคางจะห้อย น้้าลายไหลซึม กลืนไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากค้าง ขาสั่น เดินไม่มั่นคง อาการอัมพาตจะลุกลามไปทั่วตัว แล้วจะล้มลง ชักและตายภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มแสดงอาการ อย่างไรก็ตามสัตว์บางตัวอาจมีอาการซึมโดยแสดงอาการระยะ ตื่นเต้น สั่นหรือไม่แสดงอาการเลย ซุกซ่อนอยู่ในที่มืดและเงียบๆ ไม่กินอาหาร อาจเอาเท้าตะกรุยคอคล้ายกระดูกติดคอ โดยไม่มีอาการดุร้ายให้เห็น จะกัดคนเมื่อถูกรบกวน ดังนั้นจึงต้องสนใจระมัดระวังต้องไปพบแพทย์
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับโรคพิษสุขบ้า จึงควรหลีกเลี่ยงการถูกกัดให้ได้มากที่สุด หรือเมื่อโดนกัดแล้วควรปฏิบัติ โดย “สุนัขกัด ต้องล้างแผล ใส่ยา กักหมา หาหมอ ฉีดวัคซีนต่อจนครบชุด” ตามขั้นตอนดังนี้ นำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้ากำหนดเจ้าของต้องนำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนเข็มแรกอายุ 2-5 เดือน และควรฉีด กระตุ้นหลังจากเข็มแรก 1-3 เดือน ควรลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ย ได้แก่ “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง” คือ อย่าแหย่ให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ โกรธ อย่าเหยียบหาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ตกใจ อย่าแยกสุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบจานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหาร ขณะที่สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ กำลังกิน อย่ายุ่งกับสุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ ระวังบุตรหลานไม่ให้เล่นคลุกคลีกับสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน ควรนำสัตว์เลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด เพราะสัตว์ที่ได้รับวัคซีนถูกต้องแล้วประมาณ 1 เดือน จึงจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ และถ้าไม่ต้องการให้สุนัขมีลูกควรนำไปคุมกำเนิด เช่น ทำหมัน ฉีดยาคุม ควรทิ้งขยะ เศษอาหาร

ควรกักขังสุนัขหรือแมวที่กัดไว้เพื่อดูอาการอย่างน้อย 10 วัน โดยในระหว่างนี้ควรให้อาหารและน้ำสุนัขหรือแมวดังกล่าวตามปกติ แต่ต้องระวังและไม่คลุกคลีด้วย ถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที และถ้าสัตว์ตายในระหว่างนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อตัดหัวสัตว์ส่งตรวจเชื้อพิษสุนัขบ้า เมื่อพบเห็นสุนัข หรือสัตว์ทีมีอาการที่คิดว่าจะเป็นโรคนี้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลทราบโดยด่วนเพื่อดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ไปที่อื่นและ ติดตามคนที่ถูกสุนัขตัวดังกล่าวกัด ข่วน มารับการฉีดวัคซีน ถ้าพบคนที่ถูกสุนัขกัดควรแนะนำให้รีบล้างแผล ใส่ยา และไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเร็ว
เชื้อไวรัสเรบีส์ แพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายของสัตว์เลือดอุ่น หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติดเชื้อไวรัสนี้อยู่ จากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณบาดแผล เนื้อเยื่อบุตา หรือปาก ตัวอย่างของสัตว์ที่พบเชื้อไวรัสเรบีส์ เช่น สุนัข (พบมากที่สุด คิดเป็น 95%) แมว (เป็นอันดับสอง) วัว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู หรือค้างคาว ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อเกิดอาการ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคโดยเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างทันท่วงที เมื่อถูกสัตว์ดุร้ายกัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สัตว์ตัวนั้นได้แพร่เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้ามาให้เราหรือไม่ จนกว่าจะนำสมองสัตว์ไปตรวจหาเชื้อที่ห้องปฏิบัติการณ์ หรือเฝ้าสังเกตอาการสัตว์เป็นระยะเวลา 10 วันโดยหลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าไปในร่างกายแล้ว หากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และทำการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ และไขสันหลังอักเสบ ซึ่งเมื่อเกิดอาการขึ้นแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้ได้ และทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ป่วยบางรายอาจแสดงอาการ ตั้งแต่ 4 วัน หลังได้รับเชื้อ ไปจนถึง 1 ปี แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะฟักเชื้อของโรคพิษสุนัขบ้าจะอยู่ที่ 3 สัปดาห์ถึง 1 ปี ดังนั้นเมื่อถูกสัตว์กัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุด เพราะไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าจะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า หรือคาดคะเนระยะเวลาฟักเชื้อของโรคพิษสุนัขบ้าในแต่ละคนที่แน่นอนได้เลย อาการของโรคพิษสุนัขบ้า เป็นอย่างไร? ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ หรือมีไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีอาการคัน แสบร้อน บริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้งๆ ที่แผลหายดีแล้ว โดยบางรายอาจมีอาการคันแผลมาก และเกาจนกลายเป็นแผลอักเสบ มีน้ำเหลือง และเมื่อโรคดำเนินไป จะทำให้เกิดอาการของโรคพิษสุนัขในระยะถัดไปอาการแบบอัมพาต เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายสมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้แขนขาอ่อนแรงจนเป็นอัมพาต ในปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มียารักษา หากหลังจากได้รับเชื้อไวรัสแล้ว ผู้ป่วยไม่รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปล่อยให้เชื้อไวรัสเดินทางถึงสมอง และแสดงอาการออกมา ก็มักจะลงท้ายด้วยการเสียชีวิตทุกราย

ในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อเกิดอาการ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคโดยเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างทันท่วงที โดยแนวทางในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 1-2 ครั้ง ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 4-5 ครั้ง และถ้าหากได้รับเชื้อรุนแรง จะต้องฉีดอิมมูโนโกลบินที่บาดแผลร่วมด้วย อ่านเพิ่มเติม: วิธีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดอย่างไร? ป้องกันได้กี่ปี? ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค เพื่อทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้า เมื่อถูกกัด หรือข่วนแล้ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยที่ไม่ต้องฉีดอิมมูโนโกลบินที่บาดแผล หากกำลังเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กระรอก หนู กระต่าย หรือลิง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในผู้ที่เลี้ยงสัตว์แบบเปิด หลีกเลี่ยงการสัมผัส แหย่ หรือแกล้งสัตว์จรจัด เพราะอาจทำให้สัตว์หงุดหงิด และทำร้ายร่างกายผู้กระทำได้ โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่มียารักษา เมื่อได้รับเชื้อแล้ว ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างทันท่วงที สามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ วิธีการที่ดี่ที่สุดในการลดอันตรายที่อาจเกิดจากโรคนี้ จึงเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรคนั่นเอง
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy