ramahealthy

โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ OCD (Obsessive Compulsive Disorder) เป็นโรคของคนที่มีความกังวล และความไม่มั่นใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นผลให้ต้องทำกิจกรรมนั้น ๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น การปิดไฟห้องน้ำ หรือการล้างมือบ่อย ๆ เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะไม่สามารถหักห้ามใจไม่ให้ทำได้ เมื่อทำแล้วจะทำให้รู้สึกคลายความกังวล ก่อนที่จะเริ่มกังวลใหม่อีกครั้งโรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร เป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำไป ซ้ำมาเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิดความสบายใจ ซึ่งผู้ป่วยเองจะรู้ตัวว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่นั้นไม่จำเป็น ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยก็ไม่สามารถหยุดสิ่งที่ทำอยู่ได้ เช่น คอยดูว่าปิดไฟห้องน้ำหรือไม่ถึงแม้ว่าจะเห็นว่าปิดไปแล้วก็ตาม พฤติกรรมแบบนี้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยตรงโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดจากอะไร สาเหตุของการเกิดโรคนี้เกิดจากได้หลายช่องทางทั้งการทำงานผิดพลาดของร่างกาย จากครอบครัว หรือจากเหตุการณ์อื่น ๆ ได้แก่ การทำงานของสมอง และระบบประสาทที่ผิดปกติทำให้ส่งผลต่อความรู้สึกที่แสดงออกมา เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงได้ สภาพแวดล้อม หรือเหตุการณ์ที่เคยพบเจอ ส่วนมากจะเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อชีวิตอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยจะเกิดอาการได้ 2 ส่วนคือ การย้ำคิด และการย้ำทำ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้ อาการย้ำคิด เป็นการคิดถึงสิ่งหนึ่งวนไปวนมาแต่ยังไม่ตัดสินใจลงมือทำ เช่น คิดมากว่าลืมปิดประตูบ้านหรือไม่ ตอนออกจากบ้าน หรือกลัวอันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองมากจนเกินไป อาการย้ำทำ ผู้ป่วยจะทำทุกอย่างมากกว่าปกติ เช่น ล้างมือบ่อยครั้งอย่างไม่มีเหตุผล และไม่สามารถหยุดทำได้ หรือการปัดโต๊ะตลอด ๆ เพราะกลัวว่าจะมีสิ่งสกปรกทั้ง ๆ ที่ทำความสะอาดไปแล้ว เป็นต้น

ย้ำคิดย้ำทำหรือแค่กังวล จากข้อมูลที่กล่าวไปหลายคนคงเข้าใจว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่างโรคนี้กับความรู้สึกกังวล หากเราแค่ทำบางอย่างซ้ำเพราะ กังวลเรื่องความปลอดภัย ทำแล้วสบายใจ จะยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่ถ้าหากไม่สามารถควบคุมอาการดังกล่าวได้ และเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หยุดคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ นั่นถึงหมายความว่าคุณเสี่ยงโรคย้ำคิดย้ำทำรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทางจิตเวชภายใต้การดูแลของแพทย์ทั้งนี้ต้องระวังผลข้างเคียงด้วย นอกจากนี้ยังสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดทางจิตด้วยการให้ผู้ป่วยเผชิญสิ่งที่กังวล และอดทนต่อความต้องการของตนเอง เช่น หากผู้ป่วยกังวลเรื่องความสะอาดบนโต๊ะ ให้หาอะไรมาวางบนโต๊ะให้ดูเลอะ และพยายามหักห้ามใจให้ได้ 10-15 นาทีจึงค่อยไปทำความสะอาด จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้น

การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ ดูแลตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ดูหนัง เล่นโยคะ ฟังเพลง เป็นต้น พยายามเสริมความมั่นใจให้กับตนเอง หลีกเลี่ยงความคิดที่เป็นกังวล หากรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำต่อไปอาการย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ความรู้สึก แรงขับดันจากภายใน หรือจินตนาการ ที่มักผุดขึ้นมาซ้ำ ๆ โดยผู้ป่วยเองก็ทราบว่า เป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล เช่น มีความคิดซ้ำๆว่ามือตนเองสกปรก, คิดว่าลืมปิดแก๊สหรือลืมล็อคประตู, จินตนาการเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ หรือการกระทำสิ่งไม่ดีอย่างซ้ำๆ, คิดซ้ำๆ ว่าตนลบหลู่หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความคิดดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก และรู้สึกรำคาญต่อความคิดนี้ อาการย้ำทำ (compulsion) เป็นพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผู้ป่วยทำขึ้น โดยเป็นการตอบสนองต่อความย้ำคิด หรือตามกฎเกณฑ์บางอย่างที่ตนกำหนดไว้ เพื่อป้องกันหรือลดความไม่สบายใจที่เกิดจากความย้ำคิด หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆตามที่ตนหวั่นเกรง เช่น ต้องล้างมือซ้ำๆ, ตรวจสอบลูกบิดประตูหรือหัวแก๊สซ้ำๆ , พูดขอโทษซ้ำๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มากเกินปกติ และไม่สมเหตุสมผลทฤษฎีการเรียนรู้ เชื่อว่าการเกิดภาวะเงื่อนไข มีบทบาทสำคัญในการเกิดอาการ ย้ำคิด โดย สถานการณ์ปกติ ถูกเชื่อมโยงกับ สถานการณ์อันตราย จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล สำหรับอาการย้ำทำนั้น ผู้ป่วยเรียนรู้ว่า การกระทำบางอย่าง ช่วยลดความกังวลลงได้ จึงเกิดเป็นแบบแผนพฤติกรรมดังกล่าว

การรักษาวิธีอื่น การรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญ กับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำ ที่เคยกระทำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือ ก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก และระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมืออาจเริ่มจาก 10-15 นาที ไปจนเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อยๆ จนสามารถจับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมือดังก่อนนอกจากนี้ การให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย มีความสำคัญอย่างยิ่ง แพทย์ควรแนะนำสมาชิกในครอบครัว ถึงอาการของโรค แนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำให้มีท่าทีเป็นกลางต่ออาการของผู้ป่วย โดย ไม่ร่วมมือและช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยมีอาการ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต่อว่าผู้ป่วย เนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยเครียด และยิ่งกระตุ้นให้อาการเป็นมากขึ้นได้

อาการ อาการย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ความรู้สึก หรือจินตนาการ ที่มักผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผู้ป่วย เองก็ทราบว่าเป็นความคิดที่เหลวไหล ไม่เข้าใจว่าเกิดความคิดเช่นนี้ได้อย่างไร รู้สึกรำคาญต่อความคิดนี้ เช่น มีความคิดจะจุดไฟเผาบ้าน คิดว่ามือสกปรก คิดด่าทอพระพุทธรูปที่ตนเคารพ ผู้ป่วยรู้สึกผิดต่อความคิดที่เกิดขึ้น มีความกังวลใจ พยายามที่จะไม่ใส่ใจ หรือเลิกคิด บางครั้งอาจแก้หรือหักลัางความคิดนี้ด้วยความคิดหรือการกระทำต่างๆ เช่น ถ้าคิดว่าไม่ได้ปิดแก๊ส ก็จะตรวจเช็คเตาแก๊สวันละหลายๆ ครั้ง ไปล้างมือเมื่อคิดว่าสกปรก หรือท่องนะโมในใจทุกครั้งที่คิดในทางไม่ดีต่อพระพุทธรูป

ยา clomipramine อาจได้ผลดีกว่ายากลุ่ม SSRI 51, 52 แต่ก็มีข้อจำกัดคืออาการข้างเคียงมาก ฤทธิ์ในการรักษาอาการอาจเห็นผลชัดหลังจากสัปดาห์ที่ 4 และอาการที่ดีขึ้นนั้นไม่ถึงกับไม่มีอาการเลยทีเดียว ผู้ป่วยมักกลับมามีอาการอีกได้บ่อยหลังจากหยุดยา อย่างไรก็ตามพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นมาก สามารถเข้าสังคมได้ ความทุกข์ทรมานจากอาการลดน้อยลง

ยาคลายกังวล ในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลอยู่สูงอาจใช้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ในระยะสั้นๆ ยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการรักษาอาการย้ำคิด หรืออาการย้ำทำ 53 การรักษาวิธีอื่น การรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด 54 โดยให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เขากังวลใจและมิให้ตอบสนองย้ำทำตามที่เคยกระทำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือ ก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก และระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมืออาจเริ่มจาก 10-15 นาที ไปจนเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อยๆ จนสามารถจับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมือดังก่อน

การรักษาไม่ควรใจร้อน อาการของผู้ป่วย OCD มักจะค่อยๆ ดีขึ้น อาจไม่เร็วอย่างที่คิด โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะสังเกตว่าความกลัดกลุ้มและกังวลใจลดน้อยลง ต่อมาระยะเวลาที่ใช้ในการย้าคิดหรือย้าทำก็จะลดน้อยลง ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองสามารถฝืนความอยากกระทำของตนเองได้มากขึ้น ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อยาอาการจะดีขึ้นร้อยละ 50-70 ส่วนใหญ่แล้วการตอบสนองจะเห็นผลเต็มที่ในปลายเดือนที่สาม 55

ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงหรือมีผลกระทบมาก เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นระดับหนึ่งแล้ว ควรคงยาไว้ระยะหนึ่ง ขนาดยาจะลดลงจากขนาดที่เคยใช้ขณะที่อาการยังมากอยู่ โดยทั่วไปให้ยานานประมาณ 1 ปี การลดยาควรลดขนาดลงอย่างช้าๆ เช่น ลด clomipramine 50 มก. ทุก 2 เดือน 56, 57 ตัวอย่างผู้ป่วย สามารถ อายุ 25 ปี มาพบแพทย์เนื่องจากอยากหายจากอาการทำซ้ำๆ เขาให้ประวัติว่าตนเองดำเนินกิจการร้านอาหารมาได้ประมาณ 3 ปี โดยเปิดใกล้ศูนย์การค้า กลางคืนหลังเลิกงานจะให้คนงานเฝ้าร้าน ส่วนตนเองกลับมานอนที่บ้าน ประมาณ 1 เดือนก่อน ขณะกลางคืนเกิดไฟไหม้จากคนงานปิดเตาแก๊สไม่หมด แต่เสียหายไม่มากเนื่องจากมีคนช่วยดับไว้ทัน หลังจากนั้นทุกครั้งที่ปิดร้าน ตนเองจะต้องไปตรวจดูว่าคนงานปิดแก๊สแล้วหรือยัง บางครั้งไปดูซ้ำๆ ถึง 10 ครั้ง บางคืนขณะขับรถกลับบ้าน ระหว่างทางเกิดความไม่แน่ใจขึ้นมาว่าได้ตรวจเตาแก๊สครบหมดทุกเตาแล้วหรือยัง จนต้องขับกลับไปตรวจดูใหม่อีก ช่วง 1 สัปดาห์นี้อาการเป็นบ่อยขึ้น ตอนกลางวันก็ต้องคอยไปตรวจดู เขาทราบว่าตนเองกังวลมากเกินเหตุ เพราะตรวจครั้งเดียวก็น่าจะพอ แต่พอตรวจเสร็จ สักครู่ก็เกิดความไม่สบายใจขึ้นมาอีกว่าปิดหมดแน่แล้วหรือยัง ความไม่สบายใจนี้มีมากจนต้องกลับไปดูอีก ทั้งๆ ที่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เขาให้ประวัติเพิ่มเติมว่าเคยมีอาการคล้ายๆ กันนี้ตอนช่วงวัยรุ่น ครั้งนั้นเป็นหลังจากต้องสอบซ่อมหลายวิชา มีความกังวลว่ามือสกปรก ล้างมือวันละ 20-30 ครั้ง เคยรักษากับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

มีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ย้ำแล้วย้ำอีก อาจเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าโรค OCD โดยมักมีพฤติกรรมทำซ้ำๆ เช่น ปิดน้ำหรือยัง ปิดไฟหรือยัง ปิดแอร์หรือยัง เป็นพฤติกรรมก่อนออกจากบ้านที่หลายคนต้องคอยตรวจเช็กความเรียบร้อย เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ถ้าหากมีอาการลักษณะนี้มากจนเกินไปจนรู้สึกไม่มีสมาธิจะทำงาน แม้ว่าจะตรวจสอบดีแล้ว ควรรีบตรวจเช็กตัวเองให้ดีเลยว่ากำลังเสี่ยงจะเป็น “โรคย้ำคิดย้ำทำ” หรือไม่เพื่อหาวิธีจัดการ

ความจริงแล้วโรคโรคย้ำคิด ย้ำทำ (OCD) เกิดมาจากการทำงานผิดปกติในสมอง และระบบประสาทที่มีการทำงานบกพร่องอาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุคือ มีการทำงานของสมองบางส่วนมากเกินปกติ สมองส่วน Orbitofrontal, Cingulate Cortex, Caudate และ Thalamus หรือเกิดความผิดปกติของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมภาวะอารมณ์ความรู้สึก ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้อาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมอย่างประสบการณ์เลวร้ายที่พบเจอในชีวิต เช่น ผู้ป่วยอาจเจอเหตุการรุนแรงในวัยเด็ก ถูกทารุณกรรมทั้งทางกาย และทางใจ หรือปัญหาชีวิตที่รุณแรงก็ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน อาการโรคย้ำคิด ย้ำทำที่มักเกิดขึ้น เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยโรคย้ำ คิดย้ำทำอาจมีแค่อาการย้ำคิด (Obsession) ซึ่งเป็นแค่ความคิดภายในสมองที่ผุดขึ้นมาซ้ำๆ ทำให้เกิดความกังวลใจ ไม่สบายใจ และไม่สามารถหยุดคิดได้ มีความคิดวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็เกิดจากการจินตนาการไปเองว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น หรืออาจมีอาการย้ำทำ (Compulsion) คือมีการตอบสนองความคิดความกังวลนั้นด้วยการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้ลดความไม่สบายใจ หรือความกลัวนั้นลง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำเพื่อตอบสนองการย้ำคิด เช่นคิดว่ามือสกปรก เลยต้องล้างมือซ้ำๆ ล้างแล้วล้างอีก ส่วนใหญ่จะพบอาการย้ำคิดร่วมกับย้ำทำ โดยพบร้อยละ 80 โดยที่เหลืออีกร้อยละ 20 มีแต่อาการย้ำคิด 46 ซึ่งพฤติกรรมที่มักจะเป็นและสังเกตได้

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ