ramahealthy

โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม มีลักษณะคล้ายเส้นด้าย พวกมันจะ1อาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำเชื้อโรค มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง

แหล่งระบาด

ว่าด้วยเรื่องของโรคเท้าช้างที่มีอยู่ในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่

ชนิดที่ 1 เกิดจากเชื้อที่มีชื่อว่า malayi ผู้ป่วยมักมีอาการแขนขาโตผิกปกติ พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออก ของภาคใต้ในประเทศไทย ตั้งแต่ชุมพรไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ เป็นตัวนำพาหะ ยุงชนิดนี้กัดดื่มเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่าง ๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง 

ส่วนชนิดที่สองเกิดจากเชื้อที่เป็นภาหะ มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะเพศ และ ตามแขนตามขา พบบ่อยครังในโซนภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี; อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก; อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่ ใน

ในปัจจุบัน โรคเท้าช้างชนิด bancrofti สายพันธุ์นี้เข้ามาจากต่างประเทศโดยผู้ย้ายถิ่นฐานจากพม่า มียุงพาหะหลายชนิด รวมถึงยุงรำคาญ ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป

วงจรชีวิต

ในบางกรณี ที่ยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างระยะติดต่อกัดคน เชื้อจะเริ่มวิ่งออกจากบริเวณปากของยุงมาที่สู่บริเวณผิวหนัง มุ่งตรงเข้าสู่ผิวหนังและเข้าไปในกระแสเลือดเข้าตรงรอยที่ถูกยุงกัด และเข้าไปเติบโต เป็น พยาธิตัวแก่ในระบบน้ำเหลืองของคนเรา มีระยะฟักตัวของภาหะอยู่ 4-8 เดือน จากนั้นซักระยะนึงพยาธิตัวผู้กับตัวเมียจะผสมพันธุ์กัน และฟักไข่เป็นตัวอ่อนเรียกว่า ไมโครฟิลาเรีย ซึ่งจะออกมาอาศัยอยู่ในกระแสเลือด เมื่อยุงมากัดก็จะรับเชื้อตัวอ่อนเข้าไปและเจริญเป็นพยาธิระยะติดต่อภายใน 1-2 สัปดาห์

อาการของโรค

คนที่มีอาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยที่มีประวัติเข้าไปอยู่ในถิ่นที่มีการระบาดของโรค ถ้ามีไข้ ท่อน้ำเหลืองอักเสบ ขา แขน หรืออัณฑะบวม ควรตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโดยการตรวจเลือด นอกจากนี้อาจตรวจวินิจฉัยทางน้ำเหลืองได้ด้วย
– วินิจฉัยจากอาการทางคลินิกข้างต้น
– จากประวัติการรับประทานอาหารดิบ ๆ สุก ๆ เช่น หอยพาหะ กุ้ง และสัตว์พาหะอื่น ๆ
– ตรวจพบเม็ดเลือดขาวชนิดอิโอซิโนฟิลจำนวนมากในน้ำไขสันหลัง
– ตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อพยาธิโดยวิธีอิมมิวโนวินิจฉัย

การป้องกันและควบคุม

– ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัดโดย
– นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด
– ทายากันยุง
– ควบคุมและกำจัดยุงพาหะโดย
– พ่นสารเคมีกำจัดยุงตามฝาผนังบ้าน
– กำจัดลูกน้ำตามแหล่งต่าง ๆ
– กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำในแหล่งน้ำ

ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ

สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ