โรคไข้ลาสซา
เป็นไข้เฉียบพลันในช่วงระยะ 1 – 4 สัปดาห์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสลัสสา (Lassa virus) ซึ่งเป็น สายพันธุ์ arenavirus ที่โรงพยาบาลของประเทศไนจีเรีย ตั้งแต่นั้นมามีการระบาดอย่างกว้างขวางในประเทศไลบีเรีย, เซียร์ราลีโอนและกินี การระบาดของโรคเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน เป็นโรคที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยมีหนูเป็นพาหะนำโรคโดยติดต่อจากเศษอาหารหรือของใช้ในครัวเรือนปนเปื้อนกับอุจจาระหนู ส่วนการติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลยังสามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งติดจากสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลที่ยังไม่มีมาตรการในการควบคุมการติดเชื้อที่เพียงพอไข้ลาสซาเป็นไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสแพร่เชื้อจากสัตว์ประเภทหนู โดยการสัมผัสละอองฝอยลมหายใจ หรือสัมผัสอุจจาระของหนูที่ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ดื่มนํ้าที่ปนเปื้อนเชื้อ


แม้ไข้ลาสซาจะได้ชื่อว่าไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาเฉพาะเจาะจงในแต่ละวัย อาการของโรคมีทั้งแบบไม่แสดงอาการหรืออาการคล้ายไข้เลือดออก พิษสุนัขบ้า กรณีรุนแรงมากอาจ ตกเลือด ช็อก และเสียชีวิตได้สาเหตุของไข้ลาสซา (Lassa Fever ) ถูกพบครั้งแรกในปีค.ศ. 1969 ในประเทศไนจีเรีย ว่าการระบาดมาจากหนู ซึ่งเป็นพาหะนำมาสู่คน และติดต่อจากคนไปยังคนได้ จากนั้นการระบาดเริ่มรุนแรงและกว้างขวางขึ้นในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ถือเป็นโรคที่มีการติดเชื้อและอันตรายกับทุกเพศและทุกวัย ไข้ลาสซา หรือไข้เลือดออกลาสซา (LASSA HEMORRHAGIC FEVER – LHF) เป็นไข้เลือดออกชนิดหนึ่งที่เกิดจากไวรัสลาสซา (Lassa virus) สายพันธุ์ Arenavirus ต่างจากโรคไข้เลือดออกเพราะพาหะไม่ได้มาจากยุง แต่แพร่เชื้อจากสัตว์ประเภทหนู โดยการสัมผัสละอองฝอยลมหายใจ หรือสัมผัสอุจจาระของหนูที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสจากการตรวจเลือดดูแอนติบอดี้ และการตรวจปัสสาวะ การรักษาไข้ลาสซา โรคนี้รักษาโดยการดูแล ประคับประคองอาการและให้ยาต้านไวรัสไรบาวาริน Ribavarin ซึ่งได้ผลดีหากให้ตั้งแต่ระยะแรกที่เกิดอาการ การป้องกันไข้ลาสซา ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ดังนั้นการป้องกันโรคไข้ลาสซาที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขอนามัยของทั้งตัวเอง คนรอบข้างและส่วนรวมให้ดี หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รับประทานอาหารสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในภาชนะที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ดูแลความสะอาดภายในที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการกำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะนำโรค
แม้ไข้ลาสซาจะได้ชื่อว่าไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาเฉพาะเจาะจงในแต่ละวัย อาการของโรคมีทั้งแบบไม่แสดงอาการหรืออาการคล้ายไข้เลือดออก พิษสุนัขบ้า กรณีรุนแรงมากอาจ ตกเลือด ช็อก และเสียชีวิตได้ จากการศึกษาในประเทศไนจีเรียพบการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีมากถึง 50% เด็กที่ป่วยเป็นไข้ลาสซาเสียชีวิตถึง 23% ทั้งนี้ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตของทารก 87% เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ ดังนั้นก่อนเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงการระบาด ควรเตรียมตัวให้พร้อม โดยปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทาง รวมถึงสร้างวินัยตนเอง รักษาความสะอาด ใส่ใจการดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค รวมถึงเมื่อเดินทางกลับมาแล้วยังคงต้องคอยเฝ้าระวังดูอาการตนเองและบุคคลในครอบครัว หากพบอาการผิดปกติเกิดขึ้น อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันที
ไข้ลาสซา (Lassa Fever) เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสลาสซา (Lassa Virus) ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ อ่อนแรง ไม่สบายตัว มีเลือดออกง่ายผิดปกติ และอาการอื่น ๆ โดยมักมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะนำโรค ซึ่งแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนผ่านการสูดดมเชื้อในอากาศ การรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับสิ่งของในครัวเรือนที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือมูลของหนู ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยไข้ลาสซาในประเทศไทยแต่อย่างใด โดยโรคนี้มักพบการระบาดในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะในประเทศไนจีเรีย ประเทศกินี และประเทศไลบีเรีย ทว่าการป้องกันการติดเชื้อโรคอย่างการดูแลสุขอนามัยให้ดีและอยู่ห่างไกลจากพาหะนำโรคก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศดังกล่าว เนื่องจากยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนที่ป้องกันไข้ลาสซาได้โดยตรงอาการของไข้ลาสซา ไข้ลาสซามักก่อให้เกิดอาการที่หลากหลายและมีความคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อไวรัสที่มีอาการเลือดออกชนิดอื่น ๆ อาทิ อีโบลา มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้เหลือง โดยเฉพาะช่วงเริ่มแสดงอาการ จึงค่อนข้างยากต่อการวินิจฉัยและจำแนกโรค
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy