โรคไข้สมองอักเสบ

อาการเวียนศีรษะ เป็นไข้ คลื่นไส้ และอาเจียน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นของโรคไข้หวัดธรรมดา แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการของโรคไข้หวัดเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นอาการของโรค “ไข้สมองอักเสบ” ซึ่งหากเป็นแล้วจะไม่มียารักษา และเสี่ยงต่อการพิการ หรือเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติที่สมอง โดยโรคนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และขึ้นชื่อว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองแล้วจะต้องมีการส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วยแน่นอน
โรคไข้สมองอักเสบคืออะไร โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) เป็นโรคที่เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อสมองทั่ว ๆ ไป บางครั้งอาจเกิดจากปัญหาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะพบว่าโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่ติดต่อกันได้จากสัตว์สู่คน โดยบริเวณที่มีการเพาะพันธุ์เชื้อมากที่สุด คือ คอกสัตว์เลี้ยง ได้แก่ หมู วัว แพะ ซึ่งพบว่าลูกสุกรเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด โดยมียุงที่อยู่ตามบ้านเเละท้องนาเป็นพาหะนำเชื้อ โดยเชื้อที่อยู่ในเลือดจะแพร่พันธุ์อยู่ในตัวยุง หากยุงบินไปกัดผู้ใดเชื้อนี้จะแพร่เข้าสู่ผู้ที่ถูกกัดทันที ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการแสดงออกมาเลย ในขณะที่บางคนอาจเป็นไข้สมองอักเสบได้
การรักษาโรคไข้สมองอักเสบใช้ยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะ โดยจะฉีดยาต้านไวรัสเข้าเส้นเลือดดำ 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดตามข้อ และกล้ามเนื้อได้ ส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะจะใช้ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ฉีดสเตียรอยด์ โดยจะทำในกรณีที่สาเหตุของโรคเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย การฟอกเลือด เพื่อกำจัดสารพิษออกจากร่างกายที่อาจไปทำลายสมองได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้สมองอักเสบ โรคนี้เป็นโรคที่ทำให้เนื้อสมองอักเสบ โดยเนื้อสมองจะอยู่ติดกันกับเยื่อหุ้มสมองจึงอาจทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ และมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ปัญหาด้านความจำ ปัญหาด้านบุคลิกภาพ ปัญหาด้านการกลืน ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และอาจมีอาการชักร่วมด้วย
การป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ เมื่อยุงเป็นพาหะของโรคเราจึงควรทำลายจุดน้ำขัง พยายามไม่ให้ยุงกัด หลีกเลี่ยงเข้าไปในพื้นที่สะสมของแหล่งเชื้อโรค เช่น คอกสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเพียง 1 เข็ม โดยร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 14 วัน และแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก ๆ 1- 2 ปี เพื่อผลของการป้องกันโรคในระยะยาว
จะเห็นได้ว่าโรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวของเรา เพราะมียุงเป็นพาหะของโรคร้ายที่สามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายของเราได้ทุกเมื่อ การป้องกันตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำเพื่อให้ห่างไกลจากโรคร้ายนี้นั่นเอง

- โรคไข้สมองอักเสบมีอาการอย่างไร ตอบ โรคไข้สมองอักเสบจัดเป็นโรคติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เนื้อสมองอักเสบก็มีมากมาย อาทิ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย แต่วันนี้เราจะพูดถึงการอักเสบของเนื้อสมองจากเชื้อไวรัสที่เกิดจากยุงกัด
- สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง ตอบ เนื้อสมองอักเสบอาจเกิดขึ้นจากเชื้อหลายชนิด เชื้อไวรัสเองก็มีหลายตัว เช่น พิษสุนัขบ้า คางทูม ความผิดปกติของทางเดินอาหาร เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิดเนื้อสมองอักเสบได้ แต่ไข้สมองอักเสบที่อันตรายร้ายแรงที่อาจจะเสียชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัสแจแปนิส เอ็นเซป โฟโรติน ซึ่งเชื้อเองตามธรรมชาติก็จะอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุกร ยุงจะเป็นพาหะนำมาสู่คน ในตัวสุกรเองถ้าเป็นสัตว์ที่มีอายุ ตัวสัตว์เองก็จะมีภูมิต้านทานพอสมควร เพราะฉะนั้น ถ้ามีไวรัสอยู่ในตัวก็จะโดนควบคุมไม่ให้มีปริมาณมาก ส่วนสุกรที่เป็นลูกสุกร ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี เมื่อโดนยุงกัด แล้วมีเชื้อไวรัส ไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่ยุงและไปสู่คน ในลำดับต่อไป ที่สำคัญ ในตัวมนุษย์เองหลังจากที่โดนยุงกัดมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวมีอาการเจ็บป่วย ปริมาณไวรัสในเลือดน้อยมากไม่สามารถเพาะเชื้อได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อก็จะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เป็นโรคที่ต้องมีพาหะ เชื้อจะต้องมาจากสัตว
- ส่วนใหญ่มักจะระบาดในช่วงใดมากที่สุด ตอบ เนื่องจากเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ จึงมักพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ปริมาณ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่จริงๆแล้วโรคไข้สมองอักเสบสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน
- ในปัจจุบันพบผู้ป่วยบ่อยมากเพียงใด ตอบ เนื่องจากผู้ป่วยที่โดนยุงกัดแล้วมีเชื้อไข้สมองอักเสบเข้าไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่า จะป่วยทุกคน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของคนที่ถูกยุงกัด ด้วย คนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการของโรค ก็คือ เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานน้อย ส่วนผู้ที่มีอายุมากขึ้น มักจะเคยเจอเชื้อมาแล้วจากการโดนยุงกัดในอดีตแล้วร่างกายกำจัดเชื้อไปได้ มีภูมิต้านทานเพราะฉะนั้นคนที่มีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยน้อยลง และอาการของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปก็มีความแตกต่างกันตั้งแต่ได้รับเชื้อแล้วไม่มีอาการเลย จนถึงมีอาการป่วยเล็กน้อย
- โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ตอบ อย่างที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถหายขาดได้ แต่เป็นส่วนน้อย ถ้ามีอาการรุนแรงแล้ว โดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มนี้จะกำจัดได้ด้วยภูมิต้านทานของตัวเอง การรักษาในโรงพยาบาล ถ้าเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ลดอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการมากต้องเข้าห้อง ICU พวกนี้อาจจะต้องใช้เครื่องหายใจ มีการใส่ท่อ/สายยางในตัวผูป่วยหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแทรกซ้อนระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะฉะนั้น การรักษาของแพทย์ก็คือ การประคับประคองให้ผู้ป่วยมีการหายใจที่เพียงพอ เมื่อสมองฟื้นกลับคืนมา หายใจได้เองก็จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก และป้องกัน. โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล การให้ยากันชัก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยชัก เพราะการชักแต่ละครั้งก็จะยิ่งทำให้เซลล์สมองตายเพิ่มขึ้น
- เนื่องจากโรคนี้มักพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก จะมีผลต่อสมองและการรับรู้ของเด็กด้วยหรือไม่ ตอบ ถ้าในรายที่เป็นมากแล้วมีความพิการหลงเหลือก็จะทำให้ระดับสติปัญญาลดลง เช่น ระดับ IQ อาจจะลดลง เพราะฉะนั้น ถ้าป้องกันไม่ให้เป็นได้จะดีที่สุด
โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่ถ่ายทอดกันอยู่ในระหว่างสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก เช่น นกชนิดต่างๆ ไปจนถึงสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่มักติดเชื้อไวรัส ได้แก่ สุกร โค กระบือ แกะ ซึ่งในเมืองไทยพบว่าลูกสุกรเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด เชื้อไวรัสจะขยายพันธุ์อยู่ ในสัตว์เหล่านี้ โดยมียุงรำคาญที่อยู่ตามบ้านเเละท้องนาเป็นพาหะนำเชื้อ เมื่อถูกยุงกัด เชื้อที่อยู่ในเลือดของสัตว์จะเจริญแพร่พันธุ์ ในตัวยุงและสามารถบินออกหากินไปตาม สถานที่ต่างๆ ได้ไกลหลายกิโลเมตร เมื่อยุงกัดผู้ใดก็จะแพร่เชื้อเข้าสู่ผู้ที่ถูกกัด ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการแสดงหรือไม่มีอาการป่วยเป็นโรค แต่บางคนจะป่วยเป็นไข้สมองอักเสบได้ อาการเตือน.. เสี่ยง “ไข้สมองอักเสบ” มีไข้สูงปานกลาง ปวดศีรษะมาก และเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนบ่อย ต่อมาจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา แม้กินยาลดไข้ก็ยังไม่ได้ผล และมีอาการซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกตัว อาจมีอาการตัวเกร็งแข็ง หรือชักกระตุก หรือแขนขาเป็นอัมพาตร่วมด้วย
การป้องกันอาจทำได้หลายทาง เช่น อย่าให้ถูกยุงกัด ย้ายคอกหมูหรือคอกสัตว์ให้ห่างออกไปจากบ้าน หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามทุ่งนา แต่ก็เหมือนพูดง่ายทำยาก แต่วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็นรุ่นใหม่ ซึ่งจากการศึกษาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่พบว่ามีความปลอดภัยและก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีในทุกกลุ่มอายุ โดย ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็นรุ่นใหม่ เพียง 1 เข็ม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อตายจำนวน 3 เข็ม โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันจนถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคได้หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 14 วัน สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันจนถึงระดับที่ป้องกันโรคได้ภายใน 28 วัน ภายหลังการฉีด 1 เข็ม หากต้องการผลการป้องกันในระยะยาวแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 1- 2 ปี หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก

โรคนี้มีหมูเป็นรังโรค เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในหมูอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการป่วย เมื่อยุงรำคาญชนิดที่เป็นพาหะ มากัดและดูดเลือด ไวรัสจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง ซึ่งจะสามารถแพร่โรคไปให้คนหรือสัตว์ที่ถูกกัดได้ เช่น ม้า วัว ควาย แพะ แกะ และนก เป็นต้น
ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมี หรือไม่มีอาการป่วยก็ได้ ประมาณว่าผู้ติดเชื้อ 300 คน อาจป่วยเป็นโรคนี้ได้ 1 คน ผู้ป่วยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 5-15 วัน ในระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึ่งจะกินเวลา 1-7 วัน (ส่วนใหญ่ 2-3 วัน) หลังจากนั้น จะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง สติสัมปชัญญะเลวลง ซึม เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ หรือมือสั่น อัมพาต ระยะนี้กินเวลา 3-6 วัน ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้ในระยะนี้ (อัตราการตายร้อยละ 15-30 ของผู้ป่วย) หลังจากนั้นไข้จะค่อยๆลดลงสู่ปกติ และอาการทางสมองจะค่อยๆดีขึ้น แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะยังมีความผิดปกติทางสมองเหลืออยู่ เช่น เกร็ง อัมพาต ชัก ปัญญาอ่อน หงุดหงิดง่าย พูดไม่ชัด เป็นต้น
การวินิจฉัย วินิจฉัยจากประวัติการอยู่อาศัย หรือเข้าไปในแหล่งระบาดของโรค อาการและการตรวจร่างกายผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนทำได้โดยการเจาะเลือดและน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสเจอีสำหรับการป้องกันอื่นๆ เช่น กำจัดยุง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และควบคุมการเลี้ยงหมูเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม มีการทำนา และเลี้ยงหมูอยู่ทั่วไป ผู้ที่จะเข้าไปในแหล่งระบาดของโรค และไม่เคยได้รับวัคซีน ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคก่อน
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy