ramahealthy

โรคไข้หวัดในเด็ก

โรคนี้เป็นโรคที่หายได้เอง แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด ในเด็กเล็กอาการมักรุนแรงกว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาการจะแสดงให้เห็นตั้งแต่รับเชื้อเข้าไปประมาณ 1-2 วัน และจะแสดงอาการมากที่สุดภายใน 2 – 3 วัน แล้วจึงจะค่อยๆ ทุเลาลง ภายใน 5 – 7 วัน เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปทางจมูก หรือระบบทางเดินหายใจ จะทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง มีการหลั่งของเมือก ออกมาเป็นน้ำมูกใส แต่หากน้ำมูกระบายได้ไม่ดี มีการหมักหมมก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ข้นขึ้น หรือถึงขั้นเป็นสีเขียวได้ ทำให้หายใจไม่ออก และหากไหลไปด้านหลังที่คอก็จะทำให้มีอาการไอ เจ็บคอได้ตามลำดับ

ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ทำให้ร้องกวนงอแง และเบื่ออาหารตามมาได้ หากเชื้อติดในลำคอ จะทำให้เกิดคออักแสบแดง เจ็บคอ และมีเสมหะในลำคอ อาจมีโรคแทรกซ้อนถ้าเชื้อเข้าไปยังโพรงไซนัสรอบจมูก หูชั้นกลาง ต่อมน้ำเหลือง หลอดลมหรือปอด และหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เด็กอาจจะมีไข้สูงขึ้น น้ำมูกอาจจะเปลี่ยนจากใสเป็นข้นเขียวหรือเหลืองตามมาได้

การติดต่อ สัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยจากการไอ จาม รดกัน สัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ ภาชนะต่างๆ ของผู้ป่วยหรือดื่มน้ำรับประทานอาหารในภาชนะเดียวกัน ที่ทำให้สัมผัสทางอ้อมกับน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เข้าทางจมูกหรือปาก

ยารักษา

ยาที่มักมีบทบาทเกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มยาลดไข้หากมีไข้ ยากลุ่มแก้ไอ หรือละลายเสมหะ หรือขยายหลอดลม ยาบรรเทาอาการคัดจมูก ซึ่งอาจอยู่ในรูปรับประทานหรือหยอดจมูก หากไม่มีข้อห้าม ยาแก้แพ้ลดน้ำมูกหากมีน้ำมูกไหลมาก ช่วยทำให้หายใจได้สบายขึ้น แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากทำให้เสมหะเหนียวแห้งขึ้น ดังนั้นในรายที่มีอาการไอควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มนี้เนื่องจากจะทำให้เสมหะเหนียวขึ้น และระบายเสมหะจากหลอดลมได้ยากขึ้น ส่วนยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือยาปฏิชีวนะ จะให้เมื่อสงสัยมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

อาการไข้หวัด

มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือสีเขียว ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีอายุน้อยกว่า 2 ปี เมื่อเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง ไอจนเหนื่อย ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เช่นกัน เพราะเด็กอายุน้อยมักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเด็กที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี หรือมีโรคประจำตัวอยู่

การป้องกันล่วงหน้า

ควรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป และปลูกฝังการล้างมือเป็นประจำ รับประทานอาหารที่สะอาด สดใหม่ มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ควรพาบุตรหลานไปรับวัคซีนตามที่แพทย์แนะนำ

ข้อควรระวัง

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เด็กๆ เป็นกันบ่อยที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคหวัดหรือไข้หวัด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ อาการของโรคหวัดทั่วไปก็ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ มีเสมหะ เจ็บคอ ไอ จาม เสียงแหบ อาจมีอาการไข้และปวดศีรษะเล็กน้อย การรักษาก็จะเป็นไปในลักษณะประคับประคองอาการ การให้ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้ไอ-เจ็บคอ ร่วมกับการดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มน้ำเย็น รักษาร่างกายให้อบอุ่น ก็จะทำให้เด็กส่วนใหญ่หายเป็นปกติในไม่กี่วัน ในช่วงนี้เองที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด วัดไข้เด็กให้รู้แน่ชัด เมื่อเห็นว่าลูกไม่สบาย ร้องโยเย มีอาการซึม ดื่มนมหรือดื่มน้ำได้น้อย เบื่ออาหาร หากแตะบริเวณหน้าผากและคอแล้วรู้สึกอุ่นๆ ควรทำการวัดไข้และจดเป็นสถิติไว้

การเช็ดตัวไม่ควรใช้น้ำเย็นเพราะจำทำให้หลอดเลือดหดตัว ร่ายกายจะระบายความร้อนได้ไม่ดี อีกทั้งเด็กจะหนาวสั้นหรือชักได้ ควรใช้ผ้าชุบน้ำที่อุ่นกว่าอุณหภูมิห้องแต่เย็นกว่าร่างกายเด็ก บิดให้หมาด เช็ดและประคบผิวหนังบริเวณที่เป็นจุดรวมของหลอดเลือด เช่น ศีรษะ หน้าผาก ซอกคอ หลังหู รักแร้ ขาหนีบ ก้นกบ และควรประคมผ้าไว้ตรงข้อพับต่างๆ เพื่อช่วยความร้อนถ่ายเทจากภายในสู่ผิวหนังและมาสู่ผ้า โดยเตรียมผ้าผืนเล็กๆ ไว้ 2-3 ผืน การเช็ดตัวให้เช็ดจากปลายมือและปลายเท้าสู่ลำตัวเพราะเป็นการเช็ดย้อนรูขุมขนให้เปิด ทำให้ระบายความร้อนดี ใช้เวลาราว 10-15 นาที เมื่อพบว่าตัวเด็กเย็นลงแล้วให้เช็ดตัวให้แห้ง สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ควรวัดไข้เด็กอีกครั้งหลังจากเช็ดตัวเสร็จแล้ว 30 นาที หากเด็กกลับมามีไข้สูงควรเช็ดตัวซ้ำ การให้ยาลดไข้

หากเด็กมีอาการชัก ให้จับเด็กนอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่ต้องหนุนหมอน เพื่อให้ของเหลว เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ไหลออก กันการสำลัก ห้ามเอาสิ่งของ ช้อน หรือแม้แต่นิ้วมืองัดปากเด็ก งดป้อนยาและน้ำทางปากให้เด็กตอนเด็กชักหรือตอนที่เด็กหมดสติไม่รู้สึกตัว ถ้าเด็กมีไข้สูงควรรีบเช็ดตัวแล้วพาเด็กไปพบแพทย์ให้ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของการชักเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงการดูแลเบื้องต้นในกรณีที่เด็กมีไข้ไม่สูงนัก หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ อย่างไรก็ดี หากเด็กมีไข้และคุณพ่อคุณแม่พร้อมที่จะพาไปหาหมอก็ควรทำทันทีจะดีกว่า

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ