โรคไอกรน
ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดกันไม่มีจังหวะพักตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไปและเมื่อจบชุด ผู้ป่วยจะพยายามหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงดังฮู้ปขึ้น ในเด็กเล็กอาจมีอาการเขียวได้เนื่องจากอาการไอรุนแรงมาก ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการอาเจียนร่วมด้วยหลังการไอ ผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดออกในตาขาวและมีจุดเลือดออกกระจายอยู่บริเวณใบหน้าและลําตัวท่อนบน อาการในระยะนี้จะเป็นอยู่นานประมาณ 10 วันถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 2-6 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญที่บางครั้งอาจมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิต ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งพบได้บ่อย โดยเฉพาะปอดอักเสบและปอดแฟบ นอกจากนั้นยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ผู้ป่วยอาจมีอาการชัก เกร็ง หรือซึมลงได้การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การให้วัคซีน วัคซีนป้องกันไอกรนจะให้โดยการฉีดที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี วัคซีนไอกรนนี้จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานซึ่งเด็กทุกคนต้องได้รับ วัคซีนไอกรนที่เป็นวัคซีนพื้นฐานนี้เป็นชนิดเต็มเซลล์ อยู่ในรูปของวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรค แต่อาจมีปัญหาเรื่องของผลข้างเคียง เช่น อาการปวด บวม แดง ในตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ ร้องกวน ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน และมีผื่นได้ บางรายมีอาการร้องกวนไม่หยุดเป็นเวลานาน และอาการทางระบบประสาท วัคซีนไอกรนที่เป็นวัคซีนทางเลือกอีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดไม่มีเซลล์ ซึ่งจะพบผลข้างเคียงต่างๆ น้อยกว่าวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ วัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์นี้อยู่ในรูปของวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนเช่นเดียวกัน และยังอาจรวมกับวัคซีนอื่นๆ ที่เป็นวัคซีนทางเลือกที่ให้ในช่วงอายุเดียวกันได้ เช่น โปลีโอ ตับอักเสบบี และวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ

ในเด็กโตอายุ 10-12 ปี สามารถรับวัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกันแต่วัคซีนที่ใช้จะเป็นชนิดที่ต่างกับวัคซีนที่ใช้ในเด็กเล็ก เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนไอกรนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากอายุ 10-12 ปี ก็สามารถรับวัคซีนนี้ได้เช่นกันจําานวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักกระตุ้นซ้ำทุกๆ 10 ปี ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนซึ่งยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 ครั้ง ระดับของภูมิคุ้มกันอาจไม่เพียงพอในการป้องกันโรค เมื่อสัมผัสกับผู้ป่วยก็อาจมีอาการได้ ปัจจุบันแนะนําให้ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนสําหรับผู้ใหญ่ จํานวน 1 ครั้ง แก่หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ระหว่าง 27-36 สัปดาห์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไอกรนในระดับที่สูงและสามารถให้ภูมิคุ้มกันนี้ผ่านไปยังทารกในครรภ์และป้องกันโรคไอกรนได้
เป็นโรคที่ปัจจุบันพบน้อยเพราะมีวัคซีนป้องกันโรค ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สถานการณ์โรคไอกรนในประเทศไทยจากสถิติปี 2560 ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไอกรนทั้งหมด 76 ราย คิดเป็น 0. 1 รายต่อประชากร 1 แสนราย และประมาณ 50% ของผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กอายุ 1-3 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขดังกล่าวยังไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร เนื่องจากตัวโรคมีการวินิจฉัยค่อนข้างยาก อาการของโรคไอกรน

หากเกิดในผู้ใหญ่ไม่มีความรุนแรง สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้ มีเพียงอาการไอเท่านั้น แต่ถ้าหากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชักสามารถพบได้เช่นกันแต่พบไม่บ่อยนัก การเกิดไอกรนในวัยเด็กมักเกิดจากการได้รับวัคซีนป้องกันที่ยังไม่ครบหรือบางรายอาจยังไม่เคยได้รับวัคซีนเลย ทำให้เด็กยังขาดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มแรกจะได้รับเมื่ออายุ 2 เดือน ส่วนการรับเชื้อส่วนมากมักมีการรับมาจากผู้ใหญ่ที่ป่วยและมีอาการไอ ซึ่งในวัยผู้ใหญ่มักไม่ยอมไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการไม่รุนแรง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปยังเด็กที่อยู่ใกล้ชิดในที่สุด การวินิจฉัยโรคไอกรน โดยมาตรฐานต้องอาศัยวิธีการเพาะเชื้อ แต่การเพาะเชื้อนั้นทำได้ยาก จึงทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก อีกหนึ่งวิธีคือการตรวจสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค PCR ของตัวเชื้อซึ่งสามารถทำได้ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ บางโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น สรุปโดยรวมคือการวินิจฉัยยังคงมีข้อจำกัดอยู่มากพอสมควร การรักษาโรคไอกรน คือการให้ยาปฏิชีวนะ โดยยารักษาจะได้ผลดีเมื่อให้ผู้ป่วยในช่วง 2-3 วันแรกที่มีอาการ หากผู้ป่วยได้รับยาหลังจากนั้นการรักษาอาจไม่เป็นผลดีนัก ดังนั้นควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเมื่อมีอาการเริ่มต้น
การป้องกันโรคไอกรน คือการฉีดวัคซีน กลุ่มแรกเป็นการให้วัคซีนในเด็กทารกแรกเกิด โดยปกติแล้ววัคซีนไอกรนจะบรรจุรวมอยู่ในวัคซีนเข็มรวมป้องกันทั้งหมด 3 โรค ได้แก่ ไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก สำหรับวัคซีนไอกรนมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่มีสเต็มเซลล์และชนิดไร้เซลล์ โดยวัคซีนที่ถูกบรรจุรวมอยู่ในวัคซีนไอกรน คอตีบและบาดทะยักจะเป็นชนิดที่มีสเต็มเซลล์ ให้ผลลัพธ์ดีเทียบเท่ากับชนิดไร้เซลล์ แต่มักมีผลข้างเคียงมากกว่าชนิดไร้เซลล์ ได้แก่ ปวดบวมบริเวณที่ฉีดหรือมีไข้ สำหรับวัคซีนชนิดไร้เซลล์จะถูกรวมอยู่ในเข็มเดียวกันกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นด้วยเช่นกัน บางยี่ห้อนำไปรวมกับวัคซีนป้องกันตับอักเสบชนิดบี บางยี่ห้อรวมกับวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด หรือบางยี่ห้อรวมกับวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ เป็นต้น
การให้วัคซีนในวัยเด็ก เข็มแรกจะให้ตอนอายุ 2 เดือน เข็มที่สองให้ตอนอายุ 4 เดือน เข็มที่สามให้ตอนอายุ 6 เดือน เข็มที่สี่ให้ตอนอายุ 1 ปี 6 เดือน และเข็มที่ห้าให้ตอนอายุ 4-6 ปี หลังจากนั้นจะให้วัคซีนอีกครั้งตอนอายุ 10-12 ปี แต่ถ้าหากเด็กคนไหนไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนช่วง 10-12 ปี อาจรับช่วงวัยรุ่นอายุ 15-16 ปี และหลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี กลุ่มคนที่ควรได้รับวัคซีนไอกรนอีกหนึ่งกลุ่มคือหญิงตั้งครรภ์ โดยปกติกลุ่มนี้จะได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักอยู่แล้ว แนะนำให้รับเป็นวัคซีนรวมที่มีไอกรนรวมอยู่ด้วย โดยควรได้รับเมื่ออายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ นอกจากนี้วิธีป้องกันอีกหนึ่งวิธีคือการให้วัคซีนกับผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านที่มีเด็กเล็ก เพื่อป้องกันการเกิดโรคในผู้ใหญ่ที่จะแพร่เชื้อไปยังเด็กได้ ข้อแนะนำ หากพบว่าเด็กมีอาการไอเรื้อรังนาน 2-3 สัปดาห์ ให้รีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคไอกรนได้ ที่สำคัญควรป้องกันการแพร่เชื้อไปยังเด็กเล็ก โดยให้คุณแม่และผู้ใหญ่ในบ้านที่มีเด็กเล็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรน โรค ไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis (B. pertussis) เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่งเป็นเชื้อที่เพาะขึ้นได้ยาก จะพบเชื้อได้ในลำคอ ในส่วน nasopharynx ของผู้ป่วยในระยะ 1-2 อาทิตย์แรก ก่อนมีอาการ ไอเป็นแบบ paroxysmal ระบาดวิทยา ไอ กรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกราย โรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้เป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรน ส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน ใน ประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคไอกรนลดลงมาก ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก อย่างไรก็ดียังพบโรคนี้ได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปี มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน พบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy