ไข้สมองอักเสบ

อาการเวียนศีรษะ เป็นไข้ คลื่นไส้ และอาเจียน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นของโรคไข้หวัดธรรมดา แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการของโรคไข้หวัดเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นอาการของโรค “ไข้สมองอักเสบ” ซึ่งหากเป็นแล้วจะไม่มียารักษา และเสี่ยงต่อการพิการ หรือเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติที่สมอง โดยโรคนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และขึ้นชื่อว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองแล้วจะต้องมีการส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วยแน่นอน
โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่ติดต่อกันได้จากสัตว์สู่คน โดยบริเวณที่มีการเพาะพันธุ์เชื้อมากที่สุด คือ คอกสัตว์เลี้ยง ได้แก่ หมู วัว แพะ ซึ่งพบว่าลูกสุกรเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด โดยมียุงที่อยู่ตามบ้านเเละท้องนาเป็นพาหะนำเชื้อ โดยเชื้อที่อยู่ในเลือดจะแพร่พันธุ์อยู่ในตัวยุง หากยุงบินไปกัดผู้ใดเชื้อนี้จะแพร่เข้าสู่ผู้ที่ถูกกัดทันที ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการแสดงออกมาเลย ในขณะที่บางคนอาจเป็นไข้สมองอักเสบได้
ใช้ยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะ โดยจะฉีดยาต้านไวรัสเข้าเส้นเลือดดำ 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดตามข้อ และกล้ามเนื้อได้ ส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะจะใช้ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ฉีดสเตียรอยด์ โดยจะทำในกรณีที่สาเหตุของโรคเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย การฟอกเลือด เพื่อกำจัดสารพิษออกจากร่างกายที่อาจไปทำลายสมองได้นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ และมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ปัญหาด้านความจำ ปัญหาด้านบุคลิกภาพ ปัญหาด้านการกลืน ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และอาจมีอาการชักร่วมด้วย
นอกจากนี้การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเพียง 1 เข็ม โดยร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 14 วัน และแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก ๆ 1- 2 ปี เพื่อผลของการป้องกันโรคในระยะยาว จะเห็นได้ว่าโรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวของเรา เพราะมียุงเป็นพาหะของโรคร้ายที่สามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายของเราได้ทุกเมื่อ การป้องกันตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำเพื่อให้ห่างไกลจากโรคร้ายนี้นั่นเองผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเจอีมีเพียง 1% ที่มีอาการไว้ ผื่น ปวดหัว และปวดข้อ และผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะมีเพียง 1 ใน 250-300 คนเท่านั้นที่มีอาการสมองอักเสบรุนแรง
สัตว์ที่ป่วยเป็นโรคร่วมกับยุงที่เป็นพาหะของโรคซึ่งมีเชื้อไข้สมองอักเสบ พบมากในแหล่งที่มีการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณที่มีการเลี้ยงหมูจำนวนมาก เช่น ในชนบทและบริเวณชานเมือง และพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม แต่ก็อาจพบประปรายได้ตลอดทั้งปี

โรคไข้สมองอักเสบ ติดต่อกันได้อย่างไร? โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่ถ่ายทอดกันอยู่ในระหว่างสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก เช่น นกชนิดต่างๆ ไปจนถึงสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่มักติดเชื้อไวรัส ได้แก่ สุกร โค กระบือ แกะ ซึ่งในเมืองไทยพบว่าลูกสุกรเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด เชื้อไวรัสจะขยายพันธุ์อยู่ ในสัตว์เหล่านี้ โดยมียุงรำคาญที่อยู่ตามบ้านเเละท้องนาเป็นพาหะนำเชื้อ เมื่อถูกยุงกัด เชื้อที่อยู่ในเลือดของสัตว์จะเจริญแพร่พันธุ์ ในตัวยุงและสามารถบินออกหากินไปตาม สถานที่ต่างๆ ได้ไกลหลายกิโลเมตร เมื่อยุงกัดผู้ใดก็จะแพร่เชื้อเข้าสู่ผู้ที่ถูกกัด ซึ่งบางคนอาจไม่มีอาการแสดงหรือไม่มีอาการป่วยเป็นโรค แต่บางคนจะป่วยเป็นไข้สมองอักเสบได้ อาการเตือน.. เสี่ยง “ไข้สมองอักเสบ” มีไข้สูงปานกลาง ปวดศีรษะมาก และเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนบ่อย ต่อมาจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา แม้กินยาลดไข้ก็ยังไม่ได้ผล และมีอาการซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกตัว อาจมีอาการตัวเกร็งแข็ง หรือชักกระตุก หรือแขนขาเป็นอัมพาตร่วมด้วย
การป้องกันอาจทำได้หลายทาง เช่น อย่าให้ถูกยุงกัด ย้ายคอกหมูหรือคอกสัตว์ให้ห่างออกไปจากบ้าน หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามทุ่งนา แต่ก็เหมือนพูดง่ายทำยาก แต่วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็นรุ่นใหม่ ซึ่งจากการศึกษาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่พบว่ามีความปลอดภัยและก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีในทุกกลุ่มอายุ โดย ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็นรุ่นใหม่ เพียง 1 เข็ม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อตายจำนวน 3 เข็ม โดยทั่วไปร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันจนถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคได้หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วอาการไข้สมองอักเสบมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการธรรมมดาทั่วไป และอาการขั้นรุนแรงซึ่งเป็นส่วนน้อย โรคนี้ใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือนค่อยๆ แสดงลำดับอาการรุนแรง โดยสังเกตได้ดังนี้ อาการเบื้องต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นโรคหวัด ได้แก่ อ่อนแรง มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่ผิวหนัง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนหากมีอาการรุนแรงขึ้นหากพบอาการขั้นรุนแรงของไข้สมองอักเสบทั้งในทารก เด็ก หรือผู้ใหญ่ ซึ่งอาจปวดหัวมากและมีไข้สูงร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน สาเหตุของไข้สมองอักเสบ สาเหตุของไข้สมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และปัญหาจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายการวินิจฉัยไข้สมองอักเสบ ขั้นแรกแพทย์จะดูประวัติของผู้ป่วยว่ามีอาการของไข้สมองอักเสบหรือไม่ อยู่ในภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหรือไม่ ประวัติการรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และตรวจร่างกายทางระบบประสาทและสมองอย่างละเอียด แล้วจึงทดสอบร่างกายการรักษาไข้สมองอักเสบ ทำได้โดยรักษาตามสาเหตุของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย และรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
การใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรา ซึ่งจะใช้ในกรณีที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือป้องกันเชื้อรา ไข้สมองอักเสบทำให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความเครียด ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาได้ อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด อาการ และความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยการทำงานของปอดข้สมองอักเสบนอกจากจะส่งผลต่อตัวผู้ป่วยเองแล้ว ยังส่งผลต่อครอบครัวและคนรอบข้างด้วย เพราะการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยอาจทำได้ช้า ยาก และใช้เวลานานกว่าจะหายกลับมาเป็นปกติ จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญการบำบัดเกี่ยวกับการพูด เพื่อช่วยฟื้นฟูการควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดและการสื่อสาร การทำกิจกรรมบำบัด เพื่อพัฒนาทักษะและนำใช้ในชีวิตประจำวัน การทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่่น ความสมดุล รวมไปถึงพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำจิตบำบัด เพื่อเรียนรู้วิธีการเผชิญหน้ากับปัญหา สร้างพฤติกรรมใหม่ที่จะช่วยพัฒนาอารมณ์ หรือในบางกรณี อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการใช้ยา ภาวะแทรกซ้อนของไข้สมองอักเสบ ยิ่งตรวจหาสาเหตุของไข้สมองอักเสบและรักษาได้เร็ว จะยิ่งช่วยลดอัตราเสี่ยงต่ออาการที่อาจรุนแรงขึ้น ภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงการเสียชีวิตได้ด้วย

ปัญหาด้านบุคลิกภาพ หรือพฤติกรรมเปลี่ยน ปัญหาด้านการพูดและการใช้ภาษา ปัญหาด้านการกลืน ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด วิตก ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ปัญหาด้านสมาธิ ความสนใจ การวางแผน การแก้ปัญหา ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว การเกร็งของกล้ามเนื้อ ความพิการ การเป็นอัมพาต อาการชัก การป้องกันไข้สมองอักเสบ การป้องกันไข้สมองอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และวิธีต่าง ๆ ดังนี้ มีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่า โดยเฉพาะหลังเสร็จธุระในห้องน้ำและก่อนมื้ออาหาร ไม่ใช้ช้อน ส้อม หรือแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น ฉีดวัคซีนเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนก่อนเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ที่อัตราเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของเกิดการติดเชื้อ เช่น รับวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ก่อนการเดินทางไปยังประเทศในแถบเอเชีย รับวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบจากเห็บ ก่อนเดินทางไปยังประเทศในแถบเอเชียและยุโรป (ยกเว้นประเทศอังกฤษ) รับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ก่อนเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อจำกัดด้านการแพทย์และการรักษา
ติดตามข้อมูลได้ที่ : โรคต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : ramahealthy